ท่องเที่ยว
เมือเดือนกุมภาพันธ์ มีโปรโมชั่น dagkaart ตั๋ววันของรถไฟ ราคา 16 ยูโร สามารถเดินทางในวันธรรมดา ได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น. และ หลัง 18.30 น. เป็นต้นไป ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ สามารถเดินทางได้ทั้งวัน ไปที่ไหนก็ได้ภายในประเทศนี้ด้วยรถไฟ ในราคาเพียง 16 ยูโร (โปรโมชั่นตั๋ววัน ของรถไฟแบบนี้ จะมีมาทั้งปีค่ะ โดยหมุนเวียนร้านค้าที่ขายตั๋วไปเรื่อยๆ ค่ะ เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวว่า จะต้องไปซื้อที่ไหน เงื่อนไขการใช้ต่างๆ ที่เวปไซค์นี้ค่ะ http://www.treinreiziger.nl/reizen/kortingsacties ) ด้วยโปรโมชั่นดีๆ แบบนี้ ประกอบกับออยและสามีมีวันว่าง ประกอบกับออยมาอยู่ประเทศนี้ใกล้จะสองปีแล้ว แต่ยังไม่เคยเห็นทะเลดัตช์เลย เรื่องนี้ต้องเเก้ไขค่ะ สามีเลยพาเที่ยวทะเล (เที่ยวทะเลเดือนกุมภาพันธ์ ที่อากาศยังหนาวอยู่นี่ ไม่ต้องหวังจะอาบเเดด หรือได้ว่ายน้ำทะเลนะคะ หวังแค่ได้เห็นทะเลก็พอ 555) เริ่มต้นด้วยการออกเดินทางแต่เช้ามืดเลยค่ะ (กะจะใช้ตั๋ววันให้คุ้ม) นั่งรถไฟ intercity ไปลงที่เมือง Leeuwaden ก่อนจะเปลี่ยนรถไฟเพื่อไป Harlingen เราก็ขอลงเดินทั่วๆ เมือง Leeuwaden สักนิดค่ะ Leeuwaden เป็นเมืองหลวงของจังหวัด Friesland อยู่ทางภาคเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ ค่ะ (เมืองหลวงของจังหวัด ก็คล้ายๆ กับอำเภอเมือง ถ้าเทียบกับประเทศไทย) จังหวัด Friesland นี่เขามีภาษาพูดของเขาเองด้วยนะคะ มีธงชาติของเขาเองด้วย…
ภาษาดัตช์
ช่วงนี้เป็นช่วงฟุตบอลยูโรฟีเว่อร์ค่ะ เจ้าภาพปีนี้คือเยอรมนี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นแฟนบอลชาวดัตช์หลายคนจึงเดินทางไปเชียร์ทีมรักถึงขอบสนาม จึงทำให้เกิดภาพกองเชียร์ทีมกังหันสีส้มพาเหรดเดินเต็มถนน ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความประทับใจให้แก่แฟนบอลทั่วโลกถึงบรรยากาศความสนุกสนาน คราวนี้เนี่ย ในวิดีโอเราจะเห็นว่าจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่แฟนบอลดัตช์เต้นๆ และถึงท่อนหนึ่งก็จะกระโดดไปทางซ้าย และกระโดดไปทางขวาที จะได้ยิน “Naar links! Naar rechts!” สงสัยกันไหมคะว่า นี่คือเพลงอะไร และมีที่มาอย่างไร พร้อมร่วมซ้อมร้องไปด้วยกันค่ะ เพลง Links Rechts ของ Snollebollekes เพลงนี้ชื่อเพลง “Links Rechts” หรือแปลว่า “ซ้าย ขวา” ค่ะ เป็นของกลุ่ม “Snollebollekes” ประกอบด้วยสมาชิกวงคือ Rob Kemps ซึ่งเป็นคนร้องและมีหน้าปรากฎในโปสเตอร์พรีเซ้นต์วง และมีดีเจ Jurjen Gofers และ ดีเจ Maurice Huismans Snollebollekes เป็นวงจากเมือง Best ทางภาคใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ไม่ใช่วงดนตรีที่มีศิลปินเล่นดนตรีแบบนั้นนะคะ แต่มีแค่ดีเจมิกซ์แผ่น และเขียนเพลงขึ้นมาใหม่ คือตั้งใจให้เป็นเพลงเปิดเล่นสนุกๆ ในงานคาร์นิวัลค่ะ เพลง Links Rechts ของ Snollebollekes นี้เขียนเมื่อปี 2015 เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดในงานเฟสติวัล Sensation Waailand ที่จัดทุกปีในจังหวัด Noord brabant เพลงเริ่มประสบความสำเร็จในระดับประเทศเมื่อปี 2017 เมื่อทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติเนเธอร์แลนด์ได้เป็นแชมป์ยุโรป และในการฉลองแชมป์ที่เมือง Utrecht ได้มีการนำเพลงนี้มาเต้นกันอย่างสนุกสนาน เพลงนี้เลยกลายเป็นเพลงที่คนดัตช์ใช้เวลามีปาร์ตี้สนุกๆ ค่ะ จุดเด่นคือเนื้อเพลงง่ายๆ (ไม่มีสาระ…
เรียนขับรถ
เนเธอร์แลนด์เป็นเมืองจักรยาน ของขวัญที่เด็กๆ ดัตช์ได้รับเมื่อพอเริ่มจะเดินได้คล่อง คือจักรยานของเล่น (ลักษณะเหมือนจักรยานเลยค่ะ แต่ปั่นไม่ได้ ให้เด็กเดินคล่อมเดิน เหมือนสมมุติเอาว่านั่นคือจักรยาน) — พอโตมาหน่อยก็ได้รถจักรยานเล็กๆ สำหรับเด็ก แล้วพ่อแม่ก็เริ่มหัดจักรยานให้ลูกๆ ค่ะ แต่เมื่อตอนต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีข่าวรายงานออกมาค่ะว่า สถิติที่เด็กๆ ดัตช์อายุระหว่าง 4-18 ปีได้รับอุบัติเหตุจากการปั่นจักรยานไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นค่ะ ครึ่งปีนี้มีเด็กๆ ได้รับอุบัติเหตุไปแล้ว 3,100 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปี 2014 ที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น 2,600 ครั้งค่ะ สาเหตุก็เนื่องมาจากการจราจรค่ะ โรงเรียนเองก็ขนาดใหญ่ขึ้น การจราจรรอบๆ โรงเรียนก็วุ่นวายขึ้น — รูปแบบของถนนก็มีส่วนค่ะ เพราะถนนบางสายไม่ได้มีเลนสำหรับจักรยานแยกออกมาต่างหาก เช่นถนนในเมืองเก่าๆ อย่างเมือง Enschede, Groningen และ Hilversum จะมีสถิติของจักรยานได้รับอุบัติเหตุมากกว่าเมืองที่ก่อตั้งใหม่อย่าง Almere ซึ่งได้ออกแบบให้มีเลนจักรยานแยกต่างหากกับถนน แต่พฤติกรรมการใช้จักรยานของเด็กเองก็มีส่วนค่ะ จะไปโทษคนขับรถทั้งหมดไม่ได้ เด็กบางคนปั่นจักรยานไป มือก็วุ่นวายกับสมาร์ทโฟน ไม่ได้สนใจดูรถ ซึ่งอันตรายมากค่ะ แต่ก็ไม่ใช่แค่เด็กๆ นะคะที่ประสบการณ์ในการปั่นจักรยานยังน้อย และเสี่ยงแก่การเกิดอุบัติเหตุ เราคนไทยที่ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ก็เช่นกันค่ะ — ที่เมืองไทยไม่มีถนนสำหรับจักรยาน เราไม่ค่อยได้ปั่นจักรยานบนถนนใหญ่ๆ ร่วมกับรถราที่สัญจรไปมา อีกทั้งกฎจราจรไทยกับดัตช์ก็ต่างกัน ป้ายจราจรต่างๆ ก็ต่างกัน ดังนั้นคนไทยเราก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุเช่นกันค่ะ ด้วยเหตุนี้ #Dutchthingy จึงได้แปลและดัดแปลงทำบททดสอบเรื่อง “คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน? ” มาทดสอบกันสนุกๆ ค่ะ และหวังว่าจะได้ความรู้แฝงไปด้วย — มาค่ะ มาลองทำกันดู อ้างอิง…
ดัตช์รอบตัว
เขตเวลา (Time Zones) ก่อนไปถึงเรื่องการปรับเวลา เราต้องทำความเข้าใจเรื่องเขตเวลาก่อนค่ะ …คืองี้ ถ้าแบ่งโลกเราเป็นเส้นตามแนวตั้ง หรือเรียกว่าเส้นลองจิจูด (Longitude) มีทั้งหมด 360 เส้น หรือ 360 องศานั่นเอง โดยกำหนดให้อังกฤษเป็นเส้นลองติจูดที่ศูนย์ ถือเป็นตรงกลางโลก นับที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน ให้ถือว่าเป็นเวลาที่ศูนย์ หรือ UTC 0 (ย่อมาจาก Universal Time Coordinated 0) และกำหนดว่า ทุกๆ เส้นลองจิจูดที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง 15 องศาจากลองจิจูดที่ 0 ก็จะนับเป็นเวลาต่างจาก UTC 0 เป็นเส้นละ 1 ชั่วโมง (360 องศา หาร 24 ชั่วโมง = 15 องศา) เส้นที่เพิ่มขึ้น (อยู่ด้านขวา) เขตเวลาของพื้นที่ด้านขวาก็จะเร็วกว่าที่ UTC 0 เส้นที่ลดลง (อยู่ด้านซ้าย) เขตเวลาในพื้นที่นั้น ก็จะช้ากว่าที่ UTC 0 ตัวอย่างในภาพข้างล่าง ประเทศไทยอยู่ทางด้านขวาของ UTC 0 และมีเวลาเร็วกว่าเขตเวลาที่ศูนย์ อยู่ 7 ช่วง หรือ 7 ชั่วโมง หรือ UTC +7 ส่วนเนเธอร์แลนด์อิงตามสหภาพยุโรปค่ะ…