สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย…ออยมัวยุ่งกับการสอบอยู่ค่ะ เดี๋ยวจะมาเขียนเล่าให้ฟังว่า สอบอะไร สอบยังไง แต่บทความวันนี้ขอเขียนเรื่องการขอวีซ่าระยะยาวมาอยู่เนเธอร์แลนด์ก่อนนะคะ ระยะยาวในที่นี้ หมายถึงมาอยู่เกิน 3 เดือนค่ะ สำหรับสาวๆ เมื่อตัดสินใจแล้วว่า จะย้ายมาอยู่กับคนรักที่เนเธอร์แลนด์ ก็เริ่มต้องหาข้อมูลกันแล้วล่ะค่ะว่า ต้องทำอย่างไร ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ รัฐบาลดัตช์นี่เคี่ยวที่สุดในยุโรปเลยค่ะ ในการให้วีซ่าระยะยาวมาอยู่กับคนรัก เพราะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญ 2 เงื่อนไข คือ ฝ่ายต่างชาติต้องสอบภาษาและวัฒนธรรมดัตช์เบื้องต้นให้ผ่าน ส่วนฝ่ายดัตช์ก็ต้องมีเงิน งานประจำ มีรายได้ไม่น้อยกว่ารายได้ขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด..ออยขอรวบรวมเป็นขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าง่ายๆ ดังนี้ค่ะ 1. สอบ MVV สำหรับประเทศนี้ หากอยากย้ายมาอยู่ระยะยาว ด้วยเหตุผลของการมาอยู่กับคนรัก จะต้องเริ่มด้วยการสอบภาษาดัตช์ให้ผ่านขั้นต่ำระดับ A1 ก่อนค่ะ (คนที่มาด้วยเหตุผลการศึกษาต่อ หรือมาทำงาน ข้ามข้อนี้ไปได้เลยค่ะ ไม่ต้องสอบ) การสอบนี้เรียกทางการว่า basisexamen inburgering buitenland ข้อสอบปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์แล้ว และเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในการสอบจากเดิมคือ กระทรวงการต่างประเทศ (IND) มาเป็น กระทรวงศึกษาธิการ (DUO) ข้อสอบเเบ่งออกเป็น 3 ทักษะค่ะ คือ 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ค่าสอบ 100 ยูโร 2) ทักษะการอ่าน ค่าสอบ 100 ยูโร และ 3) ทักษะการพูด ค่าสอบ 150 ยูโร…สอบไม่ผ่านในส่วนไหน สอบซ่อม จ่ายค่าสอบเเค่เฉพาะส่วนนั้นที่ไม่ผ่านเท่านั้นค่ะ…เท่าที่ได้ยินมา คนไทยมักจะสอบตกในส่วนทักษะการพูดค่ะ ดังนั้นต้องฝึกเยอะๆ ค่ะ ฝึกทำข้อสอบ เตรียมตัวสอบ…
"ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์…ขอวีซ่าระยะยาว MVV"บทความ
สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย เเหะ แหะ มาค่ะ มาวันนี้จะเล่าขั้นตอนเอกสารต่างๆ ในการขอวีซ่าคู่สมรส เพื่อให้สามีชาวต่างชาติของเรา สามารถอยู่เมืองไทยได้นานๆ วีซ่าคู่สมรส สำหรับสาวไทยที่มีคู่สมรสต่างชาติ เรียกว่า วีซ่า non-immigrate O (อุปการะภรรยาไทย) ค่ะ เมื่อขอเเล้วจะได้มามีอายุ 1 ปี แต่สามารถต่ออายุได้เรื่อยๆ ตลอดไป ตราบใดที่ยังแต่งงานกับสาวไทยอยู่ ขอเล่าเฉพาะในส่วนที่รู้ จากประสบการณ์ตรงนะคะ อย่างเเรกที่ต้องทำคือ ให้คุณสามีขอวีซ่าคู่สมรสมาจากฮอลแลนด์เลย ซึ่งจะได้วีซ่ามา 90 วัน จากนั้นมาต่อวีซ่าเป็น 1 ปีที่เมืองไทย วิธีนี้จะง่ายกว่าค่ะ ง่ายกว่าไปเปลี่ยนวีซ่าจากท่องเที่ยวเป็น non-O (ตอนนี้ออยไม่แน่ใจว่าเขายังมีการให้เปลี่ยนวีซ่าภายในประเทศอยู่หรือเปล่านะคะ) กรณีแต่งงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ 1. อย่างแรกเลยคือขอใบทะเบียนสมรส และใบสูติบัตรของสามี มาจาก town hall ค่ะ ขอเขามาเป็นภาษาอังกฤษเลยนะคะ ค่าแปลจะได้ถูก และหาคนแปลง่ายหน่อย 2. เอาใบทะเบียนสมรสนี้ไปรับรองเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ก่อนค่ะ สถานที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟกรุงเฮกเลยค่ะ ลงจากรถไฟแล้วเดินอีกนิดก็ถึงแล้วค่ะ แนะนำให้ไปก่อน 11.30 น. เพราะเราจะได้รับเอกสารกลับมาภายในวันเดียวกันเลยค่ะ ถ้ามาสายกว่านั้น ต้องมาเอาเอกสารคืนวันถัดมาค่ะ รายละเอียดดูตาม link นี้ได้เลยค่ะ http://www.government.nl/issues/legalising-documents/legalising-dutch-documents/legalisation-by-the-consular-service-centre 3. นำทะเบียนสมรส และสูติบัตร ที่ได้รับการรับรองนี้ ไปสถานทูตไทยที่กรุงเฮกค่ะ นั่งรถแทรมสาย 9 ไป เอาทะเบียนสมรสนี้ไปขอรับรองเอกสารที่สถานทูตไทยอีกทีค่ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนัดวันมารับเอกสารในอีกประมาณ 2 วันทำการ ในวันนั้น…
"สามีดัตช์อยากมาอยู่ไทย – ขอวีซ่า non-O (Thai wife)"ทั้ง geen และ niet ต่างใช้ในประโยคปฏิเสธทั้งคู่ค่ะ มีหลักการว่า ประโยคไหนจะใช้ geen ประโยคไหนควรใช้ niet ดังนี้เลยค่ะ 1. Geen 1.1 ใช้แทนที่ article “een” ตอนเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น – ik heb een auto. – ik heb geen auto. – jij schrijft een brief. – jij schrijft geen brief. 1.2 ใช้นำหน้าคำนาม เพื่อเป็นประโยคปฏิเสธ กับคำนามที่นับไม่ได้ ซึ่งคำนามเหล่านี้ เป็นคำนามที่ไม่จำเป็นต้องมี article นำหน้า เช่น – ik drink koffie. – ik drink geen koffie. – ik heb kinderen. – ik heb geen kinderen. * ให้สังเกตว่า “geen” จะวางไว้ข้างหน้าคำนามเสมอ 2. Niet “niet” จะใช้ในประโยคปฏิเสธที่เหลือทั้งหมด…
"การใช้ geen กับ niet"ภาษาดัตช์ก็เหมือนภาษาอังกฤษค่ะ มีการเปลี่ยนรูปคำนาม เมื่อทำให้เป็นพหูพจน์ บ่งบอกว่าของนั้นมีหลายชิ้นนะจ๊ะ ภาษาดัตช์มีหลักการเปลี่ยนคำนามจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์ ดังนี้ 1. เติม -en หลังคำนามเอกพจน์ het boek – de boeken de verdieping – de verdiepingen de vrouw – de vrouwen de maand – de maanden de fiets – de fietsen de trein – de treinen de dag – de dagen de land – de landen de deur – de deuren de plant – de planten de stoel – de stoelen de vensterbank – de vensterbanken de docent – de docenten…
"การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์"