บทความ

กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่ Donorwet

ในปีหน้า วันที่ 1 กรกฎาคม 2020 กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะของเนเธอร์แลนด์ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ค่ะ เลยอยากเขียนเล่า และอยากเชิญชวนพี่น้องชาวไทยในเนเธอร์แลนด์มาลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะกันค่ะ — คือจะลงทะเบียนยินยอมบริจาคอวัยวะในกรณีเสียชีวิต หรือจะลงทะเบียน “ไม่” บริจาคอวัยวะ ก็ได้นะคะ แล้วแต่เลย แต่อยากให้ลงทะเบียน เพราะเป็นการตัดสินใจกับร่างกายของเราเอง ไม่ต้องผลักเป็นภาระของคนข้างหลังให้ลำบากใจค่ะ ความแตกต่างสำคัญของกฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่นี้คือ ให้นับว่าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ นับเป็นผู้บริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติ (คือตรงกันข้ามจากเดิม ที่ทุกคนไม่ใช่ผู้บริจาคอวัยวะ ถ้าอยากบริจาคก็ต้องทำเรื่องบริจาค) เหตุผลที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า จำนวนผู้ป่วยที่รอการบริจาคอวัยวะมีเป็นจำนวนมากค่ะ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตไป 130 – 150 คน เพราะว่ารออวัยวะจากผู้บริจาคไม่ไหว ใครมีสิทธิลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะ คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์มามากกว่า 3 ปี และอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติดัตช์ค่ะ) ลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้อย่างไร มีอยู่ 3 ทางเลือกค่ะคือ 1. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.donorregister.nl การลงทะเบียนวิธีนี้ ผู้ลงทะเบียนต้องมี DigiD ค่ะ เพื่อล็อกอินในเว็บไซต์ (DigiD นี่เปรียบเสมือนบัตรประชาชนทางอิเลกทรอนิกส์ที่ประชาชนใช้ในการติดต่อกับทางราชการดัตช์ค่ะ) 2. ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ สำหรับคนที่ไม่มี DigiD ก็สามารถลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้ค่ะ โดยไปตัดสินใจเลือกที่จะบริจาคอวัยวะหรือไม่ และกรอกแบบฟอร์ม ใส่รายละเอียดส่วนตัวได้ที่ https://mijn.donorregister.nl/#!/formulier/keuze ค่ะ (คือถ้ามี DigiD ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว เพราะรัฐรู้อยู่แล้วว่าเราเป็นใครน่ะค่ะ) 3. ลงทะเบียนทางไปรษณีย์ วิธีไม่ค่อยสะดวกค่ะ เราสามารถไปขอแบบฟอร์มผู้บริจาคอวัยวะได้ที่ gemeente…

"กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่ Donorwet"

การเข้ารับราชการทหาร สำหรับชายไทยในเนเธอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีที่แล้ว ทางสยามสมาคมเขาได้จัดงานบรรยายเรื่อง “กฎหมายไทยควรรู้ สำหรับคนไทยในต่างแดน” ขึ้นค่ะ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอัยการสูงสุดที่เมืองไทยมาเป็นวิทยากร จัดขึ้นที่วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม — ได้มีโอกาสเข้าฟังด้วย ได้รับความรู้มากมาย เลยเอาที่จดๆ มา และมาหาข้อมูลทำการบ้านเพิ่มนิดหน่อยในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ แล้วก็นำมาเขียนเป็นบทความชิ้นนี้นี่แหละค่ะ ในงานบรรยาย มีหลายหัวข้อนะคะ เดี๋ยวว่างๆ จะทยอยเขียนเป็นบทความเพิ่มค่ะ — ตอนนี้เอาเรื่องเกณฑ์ทหารก่อนเนอะ ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะการเกณฑ์ทหารสำหรับลูกครึ่งไทย-ดัตช์ หรือเด็กชายไทยที่ติดตามแม่มาอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้นนะคะ ในบทความอาจจะใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปบ้าง และภาษาที่ใช้ก็ไม่เป็นทางการ ประมาณเอามาเล่าสู่กันฟัง — หากอยากได้แบบวิชาการจริงจัง เลื่อนลงไปคลิกลิงก์ที่เอกสารอ้างอิงท้ายบทความได้เลยค่ะ การแจ้งเกิด เด็กลูกครึ่งไทย-ดัตช์ จะมีสิทธิ์ในทั้ง 2 สัญชาติค่ะ คือทั้งสัญชาติไทย และสัญชาติเนเธอร์แลนด์ การถือ 2 สัญชาติ หมายความว่า เราเป็นทั้งคนไทยเต็มร้อย และเป็นคนดัตช์เต็มร้อย ค่ะ แปลว่า เรามีหน้าที่ของการเป็นพลเมืองทั้งไทยและดัตช์เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งคู่ค่ะ (หน้าที่พลเมืองเราจะเยอะขึ้นกว่าคนที่ถือสัญชาติเดียวค่ะ) แต่การที่เด็กลูกครึ่งจะมีสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ได้นั้น ก็ต้องนำสูติบัตรดัตช์ แปลและไปแจ้งเกิดที่สถานทูตค่ะ รวมถึงต้องนำชื่อเด็กไปเข้าชื่อในทะเบียนบ้านที่เมืองไทยด้วยค่ะ เพื่อที่เด็กจะได้มีเลขประจำตัวคนไทย 13 หลัก คราวนี้เนี่ย มีคุณแม่หลายคนที่กังวลว่าลูกชายจะต้องโดนเกณฑ์ทหารเมื่อโตขึ้น จึงไม่ไปแจ้งเกิดลูกที่สถานทูต หรือไม่เอาชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านที่ไทยค่ะ — ตรงนี้จะมีข้อดีคือ ลูกจะไม่เจอหมายเรียกให้ไปเกณฑ์ทหาร แล้วก็ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องเอกสารต่างๆ ทั้งเรื่องลงทะเบียนทหารกองเกิน รับหมายเรียก ผ่อนผัน ฯลฯ …. แต่ก็มีข้อเสีย คือ เด็กจะเสียสิทธิความเป็นคนไทย…

"การเข้ารับราชการทหาร สำหรับชายไทยในเนเธอร์แลนด์"

การขอสัญชาติดัตช์แบบ optie

ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ค่ะ ต่อจากตอนแรกที่เรื่องการขอสัญชาติดัตช์แบบ Naturalisatie  ตอนนี้เป็นตอนที่แปลยากมากค่ะ เพราะเป็นภาษากฎหมาย และไม่มีประสบการณ์ตรง รู้คร่าวๆ แค่ว่า เราคนไทยมีสิทธิ์ที่จะขอสัญชาติแบบนี้ และเป็นการขอสัญชาติที่ค่าธรรมเนียมถูกสุด ง่ายสุด พิจารณาเร็วสุด — รู้แค่นี้เลยค่ะ — ที่เหลืออ่าน และต้องถามพี่แป๋ว เยาวลักษณ์ วงศ์สุวรรณ ล่ามและนักแปลแห่ง Thai voor Taal ต้องขอบคุณพี่แป๋วมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การจะมีสัญชาติดัตช์ได้นั้น เกิดขึ้นได้ 4 ทางค่ะคือ 1. มีสัญชาติดัตช์โดยกำเนิด (Nederlander door geboorte of erkenning) — คือแบบพ่อหรือแม่เป็นคนดัตช์น่ะค่ะ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วย โดยไม่สนใจว่าจะเกิดที่ประเทศใดก็ตามค่ะ ถ้าพ่อหรือแม่มีสัญชาติดัตช์ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วยค่ะ 2. โดยการขอสัญชาติดัตช์ (Naturalisatie) — อันนี้คือที่บทความตอนที่แล้วได้อธิบายไปแล้วค่ะ เป็นการขอสัญชาติที่เราคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์มีสิทธิที่จะขอได้ค่ะ 3. โดย Optie — วิธีการขอแบบนี้ เหมาะสำหรับคนต่างชาติที่อาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ แล้วน่ะค่ะ — ซึ่งบทความตอนนี้จะเขียนถึงเรื่องนี้ค่ะ 4. การถือสัญชาติดัตช์โดยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่รัฐอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ เกาะ Aruba, Curaçao, Sint Maarten, Bonaire, Sint Eustatius และเกาะ Saba ค่ะ…

"การขอสัญชาติดัตช์แบบ optie"

การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie

สืบเนื่องมาจากช่วยเพื่อนหาข้อมูลเรื่องการขอสัญชาติดัตช์ค่ะ ก็เลยคิดว่าไหนๆ ก็อ่านเรื่องนี้แล้ว แถมมีบางข้อความไม่เข้าใจ ก็ไปรบกวนถามพี่แป๋ว ล่ามและนักแปลแห่ง Thai voor Taal ด้วย เลยคิดว่าอย่าให้ความรู้นี้เสียเปล่าหยุดอยู่แค่เรา เอามาเขียนเป็นบทความใน @Dutchthingy ซะดีกว่า เผื่อเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ ด้วยค่ะ — ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายตามที่อ่านเข้าใจนะคะ แต่มีอ้างอิงพร้อมค่ะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การจะมีสัญชาติดัตช์ได้นั้น เกิดขึ้นได้ 4 ทางค่ะคือ 1. มีสัญชาติดัตช์โดยกำเนิด (Nederlander door geboorte of erkenning) — คือแบบพ่อหรือแม่เป็นคนดัตช์น่ะค่ะ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วย โดยไม่สนใจว่าจะเกิดที่ประเทศใดก็ตามค่ะ ถ้าพ่อหรือแม่มีสัญชาติดัตช์ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วยค่ะ 2. โดยการขอสัญชาติดัตช์ (Naturalisatie) — อันนี้คือที่บทความตอนนี้จะอธิบายค่ะ เป็นการขอสัญชาติที่เราคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์มีสิทธิที่จะขอได้ค่ะ 3. โดย Optie — สำหรับคนต่างชาติที่อาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ แล้วน่ะค่ะ — อันนี้ขอยกยอดไปเขียนเป็นบทความตอนถัดไปนะคะ 4. การถือสัญชาติดัตช์โดยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่รัฐอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ เกาะ Aruba, Curaçao, Sint Maarten, Bonaire, Sint Eustatius และเกาะ Saba ค่ะ — ซึ่งอันนี้เราคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าข่ายค่ะ เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอสัญชาติได้แก่ การขอสัญชาติมีค่าใช้จ่ายค่ะ ถ้าขอสัญชาติคนเดียวก็อยู่ที่ 866 ยูโรค่ะ ถ้ายื่นขอร่วมกันกับแฟน (ในกรณีที่แฟนของเราไม่ได้มีสัญชาติดัตช์น่ะค่ะ) อันนี้จ่าย…

"การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie"