Wintertijd, Zomertijd อะไรกันเนี่ย!

เขตเวลา (Time Zones)

ก่อนไปถึงเรื่องการปรับเวลา เราต้องทำความเข้าใจเรื่องเขตเวลาก่อนค่ะ

…คืองี้ ถ้าแบ่งโลกเราเป็นเส้นตามแนวตั้ง หรือเรียกว่าเส้นลองจิจูด (Longitude) มีทั้งหมด 360 เส้น หรือ 360 องศานั่นเอง โดยกำหนดให้อังกฤษเป็นเส้นลองติจูดที่ศูนย์ ถือเป็นตรงกลางโลก นับที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน ให้ถือว่าเป็นเวลาที่ศูนย์ หรือ UTC 0 (ย่อมาจาก Universal Time Coordinated 0)

และกำหนดว่า ทุกๆ เส้นลองจิจูดที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง 15 องศาจากลองจิจูดที่ 0 ก็จะนับเป็นเวลาต่างจาก UTC 0 เป็นเส้นละ 1 ชั่วโมง (360 องศา หาร 24 ชั่วโมง = 15 องศา)

เส้นที่เพิ่มขึ้น (อยู่ด้านขวา) เขตเวลาของพื้นที่ด้านขวาก็จะเร็วกว่าที่ UTC 0

เส้นที่ลดลง (อยู่ด้านซ้าย) เขตเวลาในพื้นที่นั้น ก็จะช้ากว่าที่ UTC 0

ตัวอย่างในภาพข้างล่าง ประเทศไทยอยู่ทางด้านขวาของ UTC 0 และมีเวลาเร็วกว่าเขตเวลาที่ศูนย์ อยู่ 7 ช่วง หรือ 7 ชั่วโมง หรือ UTC +7

ส่วนเนเธอร์แลนด์อิงตามสหภาพยุโรปค่ะ เวลาเป็น UTC +1

By Theklan - <span class="int-own-work" lang="en">Own work</span>, <a href="http://creativecommons.org/publicdomain/zero/1.0/deed.en" title="Creative Commons Zero, Public Domain Dedication">CC0</a>, <a href="https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=143021774">Link</a>

การปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดูนี้ เรียกเป็นภาษาไทยว่า “เวลาออมแสง”

ความเป็นมา

สำหรับเนเธอร์แลนด์แล้ว การปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดู เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1977 ค่ะ เป็นการปรับเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับเพื่อนบ้าน เพราะในขณะนั้นมีปัญหาวิกฤติพลังงาน เนื่องจากกลุ่มผู้ขายน้ำมันรวมตัวกันขึ้นราคาน้ำมัน ทำให้พลังงานขาดแคลน ไฟฟ้ามีราคาแพง (การปั่นจักรยานเพื่อการสัญจร จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็เริ่มต้นมาจากวิกฤติพลังงานนี้เช่นกันค่ะ)

ในหน้าหนาวที่ยุโรป พระอาทิตย์จะขึ้นช้า และมืดเร็ว ก็เลยมีไอเดียว่า ถ้าปรับเวลาให้ช้าลงหนึ่งชั่วโมง คือตอนตื่นนอนหรือตอนเข้างานเช้า พระอาทิตย์ก็ขึ้นแล้ว สว่างแล้ว ดังนั้นคนจะได้ใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง เป็นการช่วยชาติประหยัดไฟค่ะ และเมื่อเพื่อนบ้านของฮอลแลนด์ในยุโรปมีการปรับเวลา ฮอลแลนด์ก็เลยปรับตามค่ะ จะได้สอดคล้องกัน และก็ใช้แบบนี้กันเรื่อยมาจนปัจจุบัน

https://open.overheid.nl/documenten/ronl-3196c1b1-ded1-4f51-b139-adf93a5db6aa/pdf

ไม่ใช่แค่เนเธอร์แลนด์ หรือยุโรปค่ะ ที่มีการปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดูกาล ในภาพด้านล่าง ประเทศที่มีสีฟ้ากับสีส้ม คือมีการปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดู ส่วนประเทศที่มีสีเทาอ่อน คือเคยมีการปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดู แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว ในขณะที่ประเทศที่มีสีเทาเข้ม (เช่นประเทศไทย) ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดูค่ะ

By <a href="//commons.wikimedia.org/w/index.php?title=User:TimeZonesBoy&action=edit&redlink=1" class="new" title="User:TimeZonesBoy (page does not exist)">TimeZonesBoy</a> - <span class="int-own-work" lang="en">Own work</span>, <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0" title="Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0">CC BY-SA 3.0</a>, <a href="https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=17593495">Link</a>

วันที่ 21 มิถุนายน เป็น “วันครีษมายัน” คือวันที่กลางวันยาวนานที่สุด

วันที่ 21 ธันวาคม เป็น “วันเหมายัน” คือวันที่กลางคืนยาวที่สุด

เมื่อไหร่ Wintertijd เมื่อไหร่ Zomertijd

Wintertijd

มีการปรับนาฬิกาให้ช้าลง (หมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับ) 1 ชั่วโมง

กระทำในคืนวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เวลาตีสาม (หมุนกลับให้กลายเป็นตีสอง)

ดังนั้นจึงทำให้เวลาที่เนเธอร์แลนด์ แตกต่างจากเวลาที่ไทย 6 ชั่วโมง (ไทยเร็วกว่า 6 ชั่วโมง)

wintertijd

Zomertijd

ปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้น (หมุนเข็มนาฬิกาไปข้างหน้า) 1 ชั่วโมง

กระทำให้คืนวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม เวลาตีสอง (หมุนให้เร็วขึ้น กลายเป็นตีสาม)

ดังนั้นจึงทำให้เวลาที่เนเธอร์แลนด์ แตกต่างจากเวลาที่ไทย 5 ชั่วโมง (ไทยเร็วกว่า 5 ชั่วโมง)

zomertijd

ถ้าถามว่าเวลาที่ไทยกับเนเธอร์แลนด์ต่างกันกี่ชั่วโมง คำตอบคือ 5 หรือ 6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเวลาออมแสง (wintertijd หรือ zomertijd)

ทำไมต้องเปลี่ยนเวลาตอนตีสองตีสาม

เพราะเวลาของยุโรปอ้างอิงกับเวลาที่ UTC ค่ะ และเราต้องการเปลี่ยนเวลาให้พร้อมๆ กันทุกประเทศในยุโรป แต่เนื่องจากเวลาของบางประเทศในยุโรปอยู่ที่ UTC +1 บางประเทศก็อยู่ที่ UTC +2 ดังนั้นเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนเวลาให้พร้อมกันทุกโซนเวลาของยุโรป (ทั้งยุโรปตะวันตก กลาง และตะวันออก) เราก็เลยรอให้ทุกประเทศผ่านเวลา 0.00 น. ที่ UTC 0 กันก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนพร้อมกันค่ะ

คือ เนเธอร์แลนด์อยู่ในโซนเวลา UTC +1 จะเปลี่ยนตอนตีหนึ่งตีสองก็ได้ค่ะ แต่เรารอเพื่อนยุโรป เช่น ฟินแลนด์ ยูเครน ฯลฯ ซึ่งอยู่ในโซนเวลา UTC +2 เลยกลายเป็นเราเปลี่ยนเวลากันตอนตีสองตีสามแทนค่ะ

ในทางปฏิบัติ เราคงไม่นั่งรอเปลี่ยนเวลาตอนตีสองตีสามกันหรอกค่ะ เราจะหมุนเวลานาฬิกาให้เร็วขึ้น หรือช้าลง 1 ชั่วโมง ก่อนเข้านอนในคืนวันเสาร์ค่ะ ตื่นเช้ามาวันอาทิตย์ นาฬิกาก็ตั้งค่าเวลาอย่างถูกต้องแล้ว

เวลาที่แท้จริงของเนเธอร์แลนด์ คือ Wintertijd หรือ Zomertijd?

คำตอบคือ Wintertijd ค่ะ — คือสมัยก่อนโน้น ก่อนที่จะมีการปรับเวลาสองครั้งตามฤดูแบบนี้ เดิมเนเธอร์แลนด์คือเวลา แบบ Wintertijd ค่ะ หรืออยู่ในเขตเวลา UTC +1

เมื่อไรจะยกเลิกการเปลี่ยนเวลาออมแสงนี้

เดิมทีการเปลี่ยนเวลาออมแสงนี้เป็นกฎหมายในสหภาพยุโรปค่ะ แต่ต่อมา คณะกรรมการยุโรปต้องการยกเลิกระบบนี้ในปี 2018 … ปัญหาคือ ยกเลิกระบบนี้แล้ว จะใช้เวลาแบบไหน จะเป็น zomertijd ทั้งปี? หรือจะเป็น wintertijd ทั้งปี? หรือจะยังคงเป็นแบบเดิม? แล้วถ้าให้อิสระ เกิดแต่ละประเทศในอียูตั้งเวลาไม่เหมือนกัน ก็จะวุ่นวายค่ะ …ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่มีใครทำอะไรกับมันค่ะ มีการหยิบมาถกเป็นธรรมเนียมสองครั้งต่อปี (ทุกปี) ในวันที่จะมีการปรับเวลาออมแสง แล้วหลังจากนั้นก็เงียบ ไม่มีใครตามเรื่องต่อ (มันอาจจะส่งผลต่อสุขภาพสำหรับบางคน แต่ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน หรือวิกฤต ดังนั้น ก็มีแต่บ่นๆ กัน แล้วก็ปล่อยเบลอ)

อ้างอิง:

  1. “สรุปสั้น ๆ เรื่องเขตเวลา (Time Zone) และไขข้อสงสัยว่าทำไมเวลาประเทศไทยถึงเป็น UTC+7”. จิตกร พิทักษ์เมธากุล. ตุลาคม 24, 2020
  2. https://www.rijksoverheid.nl/onderwerpen/zomertijd-wintertijd/vraag-en-antwoord/klok-verzetten-nederland
  3. https://www.rijksoverheid.nl/onderwerpen/zomertijd-wintertijd/vraag-en-antwoord/afschaffen-zomertijd-wintertijd
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Daylight_saving_time

Leave a Reply