ภาษาดัตช์มี article หรือคำนำหน้านามเหมือนภาษาอังกฤษเลยค่ะ แต่ของภาษาอังกฤษคือ a, an ของภาษาดัตช์คือ de กับ het ค่ะ ส่วนจะใช้ de หรือจะใส่ het นำหน้าดีนั้น มีกฏอยู่ประมาณนี้ค่ะ การใช้ article “de” นำหน้านาม – คำนามที่ใช้เรียก ผลไม้ ต้นไม้ ดอกไม้ เช่น de apple, de varen, de eik เป็นต้น – คำนามที่ใช้เรียกตัวเลข หรือตัวอักษร เช่น de acht, de A เป็นต้น – คำนามที่ใช้เรียกชื่อภูเขา แม่น้ำ – คำนาม (ส่วนใหญ่) ที่เรียกชื่อสมาชิกในครอบครัว และตำแหน่งต่างๆ เช่น de boer, de moeder, de zus เป็นต้น แต่ยกเว้นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และแผนก – คำที่ลงท้ายด้วย -ing เช่น de versiering, de ING bank – คำนามที่เป็นพหูพจน์ จะใช้ article “de”…
"การใช้คำนำหน้านาม de หรือ het"บทความ
อย่างที่เคยเกริ่นไว้ในตอนที่ 1 นะคะ ว่าการแต่งงานจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายที่ฮอลแลนด์นั้นมีหลายแบบ มีทั้งหมด 3 แบบค่ะ คือ 1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) 2. จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) 3. จดทะเบียนแบบใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน (Samenwonen) ทั้งสามแบบนี้ สามารถจดได้ทั้งคู่ชาย-หญิง หรือคู่เพศเดียวกันก็ได้ค่ะ ต่อไปขออธิบายข้อดี ข้อเสีย ข้อแตกต่างกันของการแต่งงานแต่ละประเภทนะคะ 1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) เทียบเท่ากับการจดทะเบียนสมรสในเมืองไทยค่ะ ขั้นตอนก็เหมือนที่ออยเล่าไปแล้วใน ตอนที่ 1 (ถ้ายังไม่อ่าน คลิกอ่านได้เลยค่ะ http://dutchthingy.wordpress.com/2014/05/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1-2/) การแต่งงานนี้ ถ้ามีคู่สมรสต่อมามีลูกกัน ลูกนั้นถือว่าเป็นลูกของฝ่ายชายโดยอัตโนมัติเลยค่ะ (คือลูกเป็นของผู้หญิง แน่นอนอยู่แล้ว เพราะคลอดออกมาเอง แต่คนเป็นพ่อ บางครั้งไม่ชัดเจนค่ะ) ถึงแม้ว่า เด็กที่เกิดมานั้น อาจจะไม่ได้เป็นลูกโดยทางชีวภาพ แบบ DNA ไม่ตรงกันอะไรทำนองนี้ ถ้าจดทะเบียนสมรสกันแบบนี้ หากถึงคราวต้องเลิกกัน การหย่าร้าง ต้องขอคำสั่งจากศาลเท่านั้นค่ะ คือต้องให้ศาลเป็นคนอนุมัติ จึงจะหย่าร้างกันโดยสมบูรณ์ *** นอกเรื่องนิดค่ะ อยากเตือนสาวๆ ที่คิดจะรักหนุ่มฝรั่ง แล้วฝ่ายชายบอกว่า เขาเลิกกับภรรยาแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนหย่าร้าง คือถ้าผู้ชายยังหย่าไม่เสร็จ อยากให้สาวๆ ดูใจเขาต่ออีกนิดค่ะ อย่าเพิ่งไปตกลงใจ ตัดสินใจไปมีความสัมพันธ์กับเขา เพราะถ้าหวังว่าเขาจะหย่าเสร็จ แล้วจะมาแต่งกับเราต่อ มันอาจจะไม่ไวขนาดนั้น ขั้นตอนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และเจ็บปวดใจมากเลยทีเดียว คือในเมืองนอก การหย่ามันไม่ได้ง่ายเหมือนเมืองไทย…
"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 2"คู่ของออยแต่งงาน จดทะเบียนสมรสกันที่ฮอลแลนด์ค่ะ เหตุผลคือเรื่องของครอบครัวล้วนๆ เลยค่ะ คือครอบครัวทางฝ่ายสามีของออยจะสนิทกันมากกว่าครอบครัวของออย และพ่อของสามีก็เพิ่งเสียไปด้วย การจัดงานแต่งงานครั้งนี้ จึงถือเป็นการรวมญาติไปในตัว หลังจากครั้งสุดท้ายที่เจอกันที่งานศพพ่อสามี ซึ่งมีแต่ความโศกเคร้า ครั้งนี้ก็จะได้รวมกัน แบบมีความสุขกันบ้าง แต่งงานที่ฮอลแลนด์ ยุ่งยาก และใช้เวลานานมากกว่าที่เมืองไทยค่ะ ค่าใช้จ่ายก็มากกว่าด้วย การแต่งงานในความหมายในบทความนี้ คือการจดทะเบียนสมรส นะคะ เพราะมีคนไทยหลายคู่ที่จัดพิธีแต่งงานอย่างยิ่งใหญ่ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีความผูกพันกันทางกฏหมาย แต่สำหรับคนดัตท์แล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้นค่ะ แต่จะมีงานเลี้ยงหรือไม่นั่น ก็แล้วแต่แต่ละคู่รักจะตัดสินใจ เริ่มต้นเมื่อตัดสินใจที่จะแต่งงานกันที่ฮอลแลนด์ เอกสารที่เราจะต้องเตรียมมาจากเมืองไทย มีดังนี้ 1. ใบรับรองโสด – แปลและรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยค่ะ ใบรับรองโสด สามารถขอได้จากที่ว่าการอำเภอที่เรามีภูมิลำเนาอยู่ค่ะ ต้องขอด้วยตัวเองนะคะ *** ถ้ายังไม่เคยแต่งงานมาก่อน ในใบรับรองโสดต้องระบุข้อความประมาณนี้ด้วยนะคะว่า “จากข้อมูลในทะเบียนราษฏร์ ไม่พบว่าบุคคลนี้ มีการจดทะเบียนสมรสมาก่อน” ไม่งั้นทางอำเภอที่ฮอลแลนด์ จะไม่ยอมค่ะ จะทำให้เราต้องเสียเวลาไปทำเรื่องมอบอำนาจที่สถานทูตไทยในกรุงเฮก เพื่อให้คนที่บ้านเราไปเอามาให้อีกรอบ และต้องเอาไปแปล รับรองเอกสารอีกครั้ง เสียเวลามากเลยค่ะ 2. สูติบัตร – แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยเช่นกันค่ะ ขอแนะนำว่า ขั้นตอนการแปล และรับรองเอกสารที่สถานกงสุล เผื่อเวลาไว้สักหนึ่งอาทิตย์ แล้วจ้างเขาทำเถอะค่ะ ถ้าเราทำเอง จะเสียเวลากับการรอนานมาก รอทั้งวัน ไม่ได้ทำอะไรเลย เราทำแค่ขั้นตอนสุดท้าย คือนำเอกสารไปประทับตราที่สถานทูตก็พอค่ะ 3. แนะนำว่า เตรียมชุดเจ้าสาว ชุดเจ้าบ่าว แหวน รองเท้า…
"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 1"เมื่อถึงจุดที่ความรักสุกงอม เราทั้งคู่ก็ตัดสินใจแต่งงานกัน <3 บทความนี้ ไม่ได้จะกล่าวถึงเรื่องราวโรแมนติก รักหวาน แต่อย่างใดค่ะ แต่จะมานำเสนอเรื่องน่าปวดหัว เกี่ยวกับเอกสารทางราชการต่างๆ ที่ต้องเตรียมหากคู่รัก ไทย-ดัตช์ คิดจะแต่งงาน ปัญหาที่ต้องตอบข้อแรก …. จะแต่งงานจดทะเบียนที่ไหนจ้ะ จะแต่งที่ฮอลแลนด์ หรือจะแต่งที่ไทย คำตอบของปัญหานี้ จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวค่ะ และอย่าลืมเรื่องการเงินด้วยนะคะ แต่งงานต้องใช้เงินค่ะ ก็เอาให้สมฐานะก็แล้วกันค่ะ ส่วนตัวเราเเล้ว ถ้าไม่นำเหตุผลทางครอบครัวมาคิด จดทะเบียนสมรสที่ไทย ประหยัดกว่ามากค่ะ ใช้เวลาน้อยกว่าด้วย ถ้าแต่งงานที่ไทย (ข้อจำกัดของการแต่งงานที่ไทยคือ ต้องเป็นคู่ชาย-หญิง เท่านั่นค่ะ แต่งงานเพศเดียวกันยังไม่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฏหมายไทย) ฝ่ายดัตช์จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 1. ใบรับรองคุณสมบัติจากสถานทูต — ไปขอที่สถานทูตได้เลยค่ะ ในใบรับรองของสถานทูตจะต้องระบุดังนี้ค่ะ 1)ชื่อตัว ชื่อสกุล ถือสัญชาติ และถือหนังสือเดินทางประเทศอะไร หมายเลขหนังสือเดินทาง ออกให้ที่ไหน เมื่อไหร่ หมดอายุเมื่อไหร่ 2) ชื่อบิดา มารดา 3) ที่อยู่ถาวรในประเทศของตน 4) ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและเหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ตามกฎหมายไทย 5) อาชีพ รายได้ต่อเดือน/ปี 6) สถานภาพ(โสด, หย่า, หม้าย) ถ้าหย่ า หย่าตามเอกสารใด หม้าย หม้ายตามมรณบัตรใด ออกให้โดยหน่วยงานใด เมื่อไหร่ 7) ระบุชื่อบุคคลอ้างอิงที่มีถิ่นที่อยู่หรือภู มิลําเนาเดียวกับผู้ร้อง(ฝ่ายที่เป็นชาวต่ างชาติ) พร้ อมระบุที่อยู่ด้วย 8)…
"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ไทย)"