บทความ

รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์

กรมอุตุนิยมวิทยาดัตช์ (ชื่อเต็มคือ Koninklijk Nederlands Meteorologisch Instituut หรือย่อว่า KNMI) เนี่ยเขาจะมีการเตือนสภาพอากาศ และอุบัติภัย ภัยธรรมชาติต่างๆ ออกเป็นรหัสสีค่ะ (อันนี้ชาติอื่นก็อาจจะมีเหมือนกันนะคะ แต่เมืองไทยไม่มีแบบนี้ เลยขอเอามาเล่าสักหน่อยล่ะกัน) รหัสสี (Kleurcodes) มีทั้งหมด 4 สีค่ะ คือ สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีแดง 1. รหัสสีเขียว (Code groen) = สภาพอากาศปกติ ไม่มีอะไรเป็นอันตรายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ 2. รหัสสีเหลือง (Code geel) = ต้องระวัง อาจจะมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เป็นอันตราย เช่น ฝนตกหนัก หิมะตกทำให้ถนนลื่น เป็นต้น รหัสสีเหลืองจะประกาศออกมาล่วงหน้า 48 ชั่วโมงก่อนที่ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่เป็นอันตรายนั้นจะเกิดขึ้นจริง และการรับประกันการเกิดขึ้นจริงอย่างน้อย 60 % 3. รหัสสีส้ม (Code oranje) = ต้องเตรียมตัว ถ้ากรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนรหัสนี้ จะเริ่มออกเป็นข่าวใหญ่เตือนไปทั่วประเทศค่ะ จะเจอเป็นพาดหัวข่าว Code Oranje …. เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวค่ะ รหัสสีส้มนี้แปลว่า มีความเสี่ยงที่ของสภาพอากาศไม่น้อยกว่า 60% ที่จะเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบรุนแรง มีขนาดใหญ่และมีความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายการบาดเจ็บหรือความไม่สะดวกขึ้น รหัสสีส้มจะประกาศล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนการเกิดขึ้นจริงค่ะ 4. รหัสสีแดง (Code rood)…

"รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์"

The low sky, understanding the dutch

    หนังสือชื่อ  :  The low sky, understanding the dutch ผู้แต่ง  :  Han van der Horst สำนักพิมพ์  :  Scriptum เนื่องด้วยตั้งแต่ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ ได้สัมผัสถึงความแตกต่างทั้งทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความคิด แต่ก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมคนดัตช์จึงคิด จึงกระทำเช่นนั้น — หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนจะเป็นคำตอบค่ะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นคนดัตช์ค่ะ แต่เขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ จุดประสงค์เพื่อจะสื่อสารให้คนต่างชาติเข้าใจวิธีคิด เบื้องหลัง พื้นเพที่มาของความคิดนั้นของคนดัตช์ค่ะ โครงสร้างของหนังสือเริ่มจากบทนำ ที่กล่าวว่า สถาบันทางการศึกษาของดัตช์แห่งหนึ่ง (Royal Tropical Institute) ได้ทำการศึกษาพื้นเพนิสัยของคนดัตช์ และสรุปออกมาสั้นๆ ได้ 5 คำ คือ “egalitarian, utilitarian, organized, trade-oriented, privacy-minded” หรือแปลว่า “ยึดหลักในความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคน, ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ, เป็นระบบ, หัวการค้า และ ถือความเป็นส่วนตัว” — นี่คือนิสัยคนดัตช์โดยรวมค่ะ ยึดหลักในความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคน (egalitarian) — คนดัตช์มี motto ที่ใช้กันอยู่เสมอคือ “doe maar gewoon, dan doe je gek genoeg.” ออยแปลเองขำๆ ว่า “ทำตัวปกติเถอะ…

"The low sky, understanding the dutch"

เล่าประสบการณ์สอบใบขับขี่ดัตช์ (ภาคทฤษฎี)

สวัสดีค่ะ ไม่ได้เขียน blog เป็นบทความยาวๆ เสียนานเลยค่ะ ที่หายไปก็เพราะยุ่งกับเรื่องการสอบ Staatsexamen I และสอบใบขับขี่นี่แหละค่ะ แต่ไม่ได้หายหน้าไปไกลนะคะ ยังคงมี Update ข่าวสารบ้านเมืองดัตช์ให้พี่น้องชาวไทยได้อ่านกันใน facebook ค่ะ สามารถตามไปคลิก Like กันได้ที่ Dutchthingy การสอบใบขับขี่ที่นี่่ก็เหมือนที่เมืองไทยนะคะ คือมี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ทฤษฏี ส่วนที่สองก็คือ สอบปฏิบัติ วันนี้จะขอมาแชร์ประสบการณ์การสอบใบขับขี่ส่วนแรกก่อนค่ะ ก่อนอื่น ขอเล่าพื้นหลังนิด… คือออยขับรถไม่เป็นเลยค่ะ ดังนั้นจึงไม่รู้กฏจราจรใดๆ เลยก็ว่า เคยแต่นั่งรถอย่างเดียว แถมบางครั้งก็นั่งหลับซะด้วย บางครั้งก็นั่งไป เมารถไป … ไม่ได้เรื่องเลยค่ะ จริงๆ ถ้าให้แนะนำ อยากแนะนำให้เรียนขับรถปฏิบัติไปด้วย ระหว่างนั้นก็อ่านหนังสือสอบทฤษฏีไป อย่างนี้จะดีกว่าค่ะ จะจำพวกกฎจราจร พวกป้ายจราจรต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะได้ใช้จริง …ของออยนี่คือ เนื่องจากหลังจากกลับไทยมาเมื่อเดือนกรกฎาคม สามีก็ยุ่งตลอดกับโปรเจคใหม่ที่ต้องออกสู่ตลาดให้ทันเดือนตุลาคม เลยไม่ว่างพาออยไปหาโรงเรียนสอนขับรถค่ะ ออยก็เลยคิดว่า งั้นอ่านเอง แล้วก็ลองสอบขำๆ ไปก่อน จะได้รู้แนวข้อสอบ รู้บรรยากาศ และถ้าตกก็ไปเรียนขับรถ แล้วก็ค่อยมาสอบอีกครั้ง…แต่โชคดีค่ะ สอบผ่านในครั้งแรกเลย การสอบทฤษฏีขับรถของดัตช์ จะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันค่ะ คือ 1. Een onderdeel over gevaarhekening (25 ข้อ) แปลว่า…

"เล่าประสบการณ์สอบใบขับขี่ดัตช์ (ภาคทฤษฎี)"

เปิดจดหมายรัฐมนตรีฯ เรื่องความคืบหน้า inburgering

ก่อนอื่น ขอโฆษณาเพจของตัวเองก่อนค่ะ ตามไปคลิก Like กันได้ ในนั้นจะเน้นเล่าข่าวดัตช์ หรือศัพท์ดัตช์ทีได้จากข่าวค่ะ dutchthingy มาต่อเรื่องจดหมายค่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่า เมื่อตอนปี 2013 รัฐบาลดัตช์เขาเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับ Inburgering ใหม่ค่ะ ให้ผู้อพยพต้องรับผิดชอบตัวเองในการเรียนภาษาดัตช์เพื่อสอบให้ผ่านอย่างต่ำ inburgeringexamen ภายใน 3 ปี นับจากที่ย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ก่อนหน้านั้น รัฐบาลสนับสนุนทางการเงิน แถมหาโรงเรียนให้เรียนด้วย) ผู้อพยพในความหมายนี้คือ คนที่ย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็น inburgeringsverplicht นะคะ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนค่ะ คือคนที่อพยพมาเนื่องจากมีคนรักเป็นคนดัตช์ (Gezinsmigrant) กับอีกส่วนคือคนที่เป็นผู้อพยพหนีภัยสงคราม หรือสถานการณ์การเมือง และได้สถานะผู้ลี้ภัยค่ะ (Asielmigrant) ดาวน์โหลดจดหมายตัวจริงมาอ่านกันได้ที่นี่ค่ะ Kamerbrief voortgang inburgering inburgering นี่ไม่ใช่แค่การสอบอย่างเดียวนะคะ ในความหมายนี้หมายถึงการบูรณาการ การปรับตัวเข้ากับสังคมดัตช์ในทุกๆ ด้านเลยค่ะ ทั้งภาษา วัฒนธรรม กฎระเบียบต่างๆ และตัวชี้วัดที่รัฐบาลใช้ในการประเมินว่า ผู้อพยพผ่านการบูรณาการเข้ากับสังคมดัตช์นี้หรือไม่ ก็คือ การสอบ inburgeringexamen หรือ staatsexamen นั่นเองค่ะ เนื่องด้วย กฎหมายนี้ออกมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2013 ไงคะ พอปีนี้ 2016 ก็ครบ 3 ปีพอดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคมและการจ้างงาน ก็ต้องทำรายงานความคืบหน้าเสนอต่อรัฐสภาค่ะ เพื่อประเมิน ปรับปรุงกฎหมายต่อไป — กฎหมายประเทศเนเธอร์แลนด์นี่ เปลี่ยนบ่อยมากค่ะ คนดัตช์เองก็บ่น…

"เปิดจดหมายรัฐมนตรีฯ เรื่องความคืบหน้า inburgering"