zzp ย่อมาจาก Zelfstandige Zonder Personeel หรือก็คือ ผู้ประกอบการอิสระ กิจการที่มีผู้ประกอบการคนเดียว ไม่มีลูกจ้าง หรือฟรีแลนซ์ นั่นเอง zmp ย่อมาจาก Zelfstandige met personeel หรือ กิจการที่มีผู้ประกอบการคนเดียวเป็นเจ้าของ แต่มีลูกจ้าง ความเป็นมาของกฎหมายใหม่ กฎหมายใหม่นี้มีชื่อว่า De Wet deregulering beoordeling arbeidsrelaties (ย่อว่า DBA) แปลว่า พระราชบัญญัติการประเมินความสัมพันธ์ในการจ้างงาน จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่กฎหมายใหม่ค่ะ มีการประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2016 แต่ไม่มีการบังคับใช้อย่างจากจริงจัง เนื่องจากปัญหาเรื่องการพิสูจน์ความแตกต่างของการเป็นฟรีแลนซ์และการเป็นลูกจ้างไม่ชัดเจน กฎหมายตัวนี้เลยเลื่อนบังคับใช้เรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม ปีหน้า รัฐบาลประกาศว่าจะบังคับใช้จริงๆ จังๆ ค่ะ เจตนารมณ์ของกฎหมาย DBA เนื่องจากจำนวนผู้จดทะเบียนเป็นฟรีแลนซ์ (zzp) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งเนเธอร์แลนด์พบว่าปี 2023 มีจำนวนผู้จดทะเบียนเป็น zzp’er และ zmp’er กว่า 1.2 ล้านคน คิดเป็น 13 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมดในประเทศ zzp’ers กว่า 1 ล้านคน ในจำนวน 1.2 ล้านที่จดทะเบียนเป็น zzp มีรายได้จากการเสนอให้บริการต่างๆ หรือใช้แรงงานค่ะ มีเพียงกลุ่มน้อยที่ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ คราวนี้เนี่ย การเป็นฟรีแลนซ์แปลว่า…
"Nieuwe zzp-wet"Category: บทความ
เรื่องเกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์โดยทั่วไป ให้ความรู้แง่กฎหมายต่างๆ เล่าประสบการณ์ รวมถึงบทวิจารณ์ หรือความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์
เขตเวลา (Time Zones) ก่อนไปถึงเรื่องการปรับเวลา เราต้องทำความเข้าใจเรื่องเขตเวลาก่อนค่ะ …คืองี้ ถ้าแบ่งโลกเราเป็นเส้นตามแนวตั้ง หรือเรียกว่าเส้นลองจิจูด (Longitude) มีทั้งหมด 360 เส้น หรือ 360 องศานั่นเอง โดยกำหนดให้อังกฤษเป็นเส้นลองติจูดที่ศูนย์ ถือเป็นตรงกลางโลก นับที่เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน ให้ถือว่าเป็นเวลาที่ศูนย์ หรือ UTC 0 (ย่อมาจาก Universal Time Coordinated 0) และกำหนดว่า ทุกๆ เส้นลองจิจูดที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง 15 องศาจากลองจิจูดที่ 0 ก็จะนับเป็นเวลาต่างจาก UTC 0 เป็นเส้นละ 1 ชั่วโมง (360 องศา หาร 24 ชั่วโมง = 15 องศา) เส้นที่เพิ่มขึ้น (อยู่ด้านขวา) เขตเวลาของพื้นที่ด้านขวาก็จะเร็วกว่าที่ UTC 0 เส้นที่ลดลง (อยู่ด้านซ้าย) เขตเวลาในพื้นที่นั้น ก็จะช้ากว่าที่ UTC 0 ตัวอย่างในภาพข้างล่าง ประเทศไทยอยู่ทางด้านขวาของ UTC 0 และมีเวลาเร็วกว่าเขตเวลาที่ศูนย์ อยู่ 7 ช่วง หรือ 7 ชั่วโมง หรือ UTC +7 ส่วนเนเธอร์แลนด์อิงตามสหภาพยุโรปค่ะ…
"Wintertijd, Zomertijd อะไรกันเนี่ย!"ทุกวันอังคารสัปดาห์ที่สามของเดือนกันยายน จะเป็นวัน Prinsjesdag ค่ะ — เป็นวันแถลงนโยบายและงบประมาณประจำปีของรัฐบาล หลังจากที่เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Mark Rutte มายาวนานนับสิบปี ปีนี้เป็นปีแรกที่งบประมาณประจำปีนำโดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่ Dick Schoof รัฐบาลใหม่ได้ประกาศตั้งแต่ตอนก่อตั้งแล้วว่า จะมีมาตรการควบคุมผู้ลี้ภัยและการอพยพที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมา และจะอยู่ข้างเกษตรกรมากกว่าสิ่งแวดล้อมค่ะ จะผ่อนคลายความเข้มเรื่องการปล่อยออกไซต์ของไนโตรเจนที่ยุโรปบังคับ และเนเธอร์แลนด์เคยทะเยอทะยานที่จะทำให้ได้ดีกว่าที่ยุโรปต้องการในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรฟาร์มโคนม ฟาร์มปศุสัตว์บางรายอาจถึงต้องปิดกิจการ — แต่รัฐบาลใหม่จะไม่ทะเยอทะยานเช่นนั้น แต่จะเน้นเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากกว่า แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ งบประมาณมีจำกัดค่ะ จึงไม่สามารถอุดหนุนทุกอย่างได้ ดังนั้นดูเหมือนนโยบายรัฐบาลใหม่นี้จะตัดงบด้านการศึกษา และการช่วยเหลือพัฒนาประเทศโลกที่สาม รวมถึงยังยืนยันที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดสินค้าทางด้านวัฒนธรรม หนังสือ และกีฬา ในปี 2026 ค่ะ เพราะรัฐต้องการรายได้เพิ่มในส่วนนี้ งบประมาณ รายได้-รายจ่ายของรัฐ ปีนี้รัฐตั้งงบประมาณแบบขาดดุลเล็กน้อยค่ะ อยู่ที่ 457 พันล้านยูโร จากในภาพเราจะเห็นว่าแหล่งรายได้ 3 อันดับแรกของรัฐมาจากภาษีรายได้ รองลงมาก็คือภาษีมูลค่าเพิ่ม (จากการจับจ่ายใช้สอยของเรานั่นเองค่ะ) อันดับที่สามของแหล่งรายได้ของรัฐ มาจากเบี้ยประกันสุขภาพค่ะ เราจ่ายให้บริษัทประกันสุขภาพทุกเดือน และบริษัทฯ จะนำส่งส่วนหนึ่งให้แก่รัฐ รายจ่ายของรัฐส่วนใหญ่ในปี 2025 คือรายจ่ายด้านประกันสังคม เช่น เงินสงเคราะห์ต่างๆ ค่ะ เงินบำนาญผู้สูงอายุ เงินสงเคราะห์บุตร ฯลฯ และรายจ่ายด้านสุขภาพสาธารณสุข รายจ่ายรองลงมาอันดับสามของรัฐคือ รายจ่ายให้กองทุนการปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลและจังหวัด รายจ่ายอันดับสี่ถัดมาคือ รายจ่ายให้แก่การศึกษา วัฒนธรรม และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ค่ะ ส่วนรายจ่ายด้านกลาโหมตามมาเป็นลำดับห้าค่ะ รายจ่ายของรัฐนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของรัฐบาลค่ะ ว่าเน้นความสำคัญต่อภาคส่วนใดเป็นพิเศษ นโยบายรัฐปี 2025 และผลกระทบ…
"นโยบายและงบประมาณประจำปี 2025 กับผลกระทบต่อเรา"ช่วงนี้เป็นช่วงฟุตบอลยูโรฟีเว่อร์ค่ะ เจ้าภาพปีนี้คือเยอรมนี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นแฟนบอลชาวดัตช์หลายคนจึงเดินทางไปเชียร์ทีมรักถึงขอบสนาม จึงทำให้เกิดภาพกองเชียร์ทีมกังหันสีส้มพาเหรดเดินเต็มถนน ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความประทับใจให้แก่แฟนบอลทั่วโลกถึงบรรยากาศความสนุกสนาน คราวนี้เนี่ย ในวิดีโอเราจะเห็นว่าจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่แฟนบอลดัตช์เต้นๆ และถึงท่อนหนึ่งก็จะกระโดดไปทางซ้าย และกระโดดไปทางขวาที จะได้ยิน “Naar links! Naar rechts!” สงสัยกันไหมคะว่า นี่คือเพลงอะไร และมีที่มาอย่างไร พร้อมร่วมซ้อมร้องไปด้วยกันค่ะ เพลง Links Rechts ของ Snollebollekes เพลงนี้ชื่อเพลง “Links Rechts” หรือแปลว่า “ซ้าย ขวา” ค่ะ เป็นของกลุ่ม “Snollebollekes” ประกอบด้วยสมาชิกวงคือ Rob Kemps ซึ่งเป็นคนร้องและมีหน้าปรากฎในโปสเตอร์พรีเซ้นต์วง และมีดีเจ Jurjen Gofers และ ดีเจ Maurice Huismans Snollebollekes เป็นวงจากเมือง Best ทางภาคใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ไม่ใช่วงดนตรีที่มีศิลปินเล่นดนตรีแบบนั้นนะคะ แต่มีแค่ดีเจมิกซ์แผ่น และเขียนเพลงขึ้นมาใหม่ คือตั้งใจให้เป็นเพลงเปิดเล่นสนุกๆ ในงานคาร์นิวัลค่ะ เพลง Links Rechts ของ Snollebollekes นี้เขียนเมื่อปี 2015 เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดในงานเฟสติวัล Sensation Waailand ที่จัดทุกปีในจังหวัด Noord brabant เพลงเริ่มประสบความสำเร็จในระดับประเทศเมื่อปี 2017 เมื่อทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติเนเธอร์แลนด์ได้เป็นแชมป์ยุโรป และในการฉลองแชมป์ที่เมือง Utrecht ได้มีการนำเพลงนี้มาเต้นกันอย่างสนุกสนาน เพลงนี้เลยกลายเป็นเพลงที่คนดัตช์ใช้เวลามีปาร์ตี้สนุกๆ ค่ะ จุดเด่นคือเนื้อเพลงง่ายๆ (ไม่มีสาระ…
"เพลงเชียร์ฟุตบอลยูโร 2024 – Links Rechts"