1. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ย้ายที่ทำการชั่วคราว เนื่องด้วยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮกมีกำหนดปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่ทำการในปี 2024 เลยจำต้องย้ายที่ทำการการให้บริการด้านกงสุลเป็นการชั่วคราว โดยที่อยู่ของอาคารที่ทำการชั่วคราว คือ Haagsche Hof (Unit D213 – D214), Parkstraat 83, 2514 JG, The Hague. โดยจะเริ่มเปิดทำการ ณ ที่อยู่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เวลาทำการตามปกติคือวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. และ เวลา 13.30 – 17.00 น. ทั้งนี้ ผู้ที่จะติดต่อขอรับบริการด้านกงสุลยังคงต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าทางออนไลน์ ที่ลิงก์ https://hague.thaiembassy.org/th/publicservice/online-q-for-thais หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล consular@thaiembassy.nl หรือหมายเลขโทรศัพท์ 070 345 0766 2. ภาษีและกำลังซื้อ ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น และคิดในฐานค่าแรงรายชั่วโมง ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 13.27 ยูโรต่อชั่วโมง (เพิ่มขึ้น 3.75 เปอร์เซ็นต์) และจะไม่มีค่าแรงขั้นต่ำรายเดือน รายสัปดาห์ หรือรายวันอีกต่อไป เนื่องจากในอดีตเนี่ย ทำให้บางคนที่ทำงานมาก 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่พอคิดเป็นเงินเดือนแล้ว กลับได้เงินน้อยกว่าหรือเท่ากับคนที่ทำงาน…
"มีกฎหมายอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในปี 2024"Category: บทความ
เรื่องเกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์โดยทั่วไป ให้ความรู้แง่กฎหมายต่างๆ เล่าประสบการณ์ รวมถึงบทวิจารณ์ หรือความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์
เป็นพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ หรือที่เรียกว่า de Zorgverzekeringswet (Zvw) ค่ะ ที่ระบุว่าทุกคนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในเนเธอร์แลนด์ “ต้อง” ทำประกันสุขภาพ ดังนั้นทุกคนจึงมีสิทธิในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสุขภาพ ที่เรียกว่า basispakket หลักการทั่วไปของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ ระบบการรักษาพยาบาลของเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะรวยจะจน เด็กหรือผู้ใหญ่ คนสุขภาพดีหรือป่วย ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการได้รับการรักษาในแบบเดียวกันในราคาที่ย่อมเยาจากแพ็คเกจประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยทุกคนต้องทำประกันสุขภาพผ่านบริษัทประกัน และจ่ายเบี้ยประกันและภาษี เนเธอร์แลนด์ไม่มีรักษาฟรีค่ะ แต่ที่ดูเหมือนฟรี ก็เพราะทุกคนถูกบังคับให้ต้องทำประกันสุขภาพและจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือน เนื้อหาโดยทั่วไปของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพนี้คือ โครงสร้างพื้นฐานทางสุขภาพ (basispakket) ประกอบด้วยอะไรบ้าง แปลง่ายๆ คือสิทธิในการเข้าถึงการรักษาเบื้องต้นเวลาป่วยน่ะค่ะ ซึ่งคนที่ทำประกันทุกคน (ซึ่งก็คือคนในเนเธอร์แลนด์ทุกคน) จะได้รับคือ หากดูในรายการ basispakket ที่เราจะได้รับ ก็ดูครอบคลุมในปัญหาทางสุขภาพแทบทุกอย่างแล้วค่ะ แต่บางคนอาจต้องการจะทำประกันให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น เรียกว่า Aanvullende verzerkering เช่น ประกันสุขภาพสำหรับสุขภาพสายตา (ตัดแว่นสายตา เป็นต้น) หรือประกันสุขภาพดูแลช่องปาก ตรงนี้เราก็สามารถทำประกันเพิ่มได้ตามสมัครใจค่ะ คราวนี้มาดูเรื่องค่าใช้จ่ายบ้างค่ะ เพราะการทำประกันสุขภาพ และจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือน ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะรักษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายอีกแล้วนะคะ ยังมีส่วนที่เราต้องร่วมจ่ายอยู่ค่ะ เพื่อให้เข้าใจถึงค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากเบี้ยประกันรายเดือน เราต้องรู้จัก 2 คำนี้ค่ะ คือ eigen risico และ eigen bijdragen ปี 2023 วิตามินดี ไม่อยู่ในรายการ basispakket อีกต่อไป Eigen risico คือค่ารักษาส่วนที่เราต้องจ่ายค่ะ เหมือนเราจ่ายสมทบค่ารักษาตัวเราเองน่ะค่ะ …ถึงแม้เราจะทำประกันสุขภาพและจ่ายเบี้ยรายเดือนทุกเดือนแล้วก็ตาม …แต่ถ้าเราป่วย และไปหาหมอ…
"ระบบประกันสุขภาพของเนเธอร์แลนด์"การเสียสัญชาติดัตช์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ (ส่วนใหญ่)ในผู้ถือสองสัญชาติเท่านั้น บทความตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายในชุดเรื่อง “สัญชาติดัตช์” ค่ะ อันประกอบไปด้วยตอนก่อนหน้านี้ 2 ตอน คือ การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie การขอสัญชาติดัตช์แบบ optie การเสียสัญชาติดัตช์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ส่วนใหญ่ในผู้ถือสองสัญชาติค่ะ ใครที่มีแค่สัญชาติดัตช์สัญชาติเดียว ไม่ต้องกังวลค่ะ — และการเสียสัญชาติดัตช์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ด้วย มันมีเงื่อนไขต่างๆ ของมันอยู่ค่ะ การเสียสัญชาติดัตช์เกิดขึ้นได้ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ เสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติ ถูกถอนสัญชาติดัตช์โดยรัฐบาล เสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติ การเสียสัญชาติแบบอัตโมมัติสำหรับบางคน จะเป็นอารมณ์เหมือนเสียสัญชาติแบบไม่รู้ตัว …คือจะไม่เหมือนการเสียสัญชาติไทยค่ะ ที่เจ้าตัวจะต้องไปทำเรื่องขอสละสัญชาติไทยที่สถานทูต และต้องมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา การเสียสัญชาติไทยจึงจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ — แต่การเสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัตินี่ บางคนมารู้ตัวเองว่าเสียสัญชาติไปแล้วก็ตอนที่ไปทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ (เพราะเล่มเก่าหมดอายุ) แล้วพบว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีสัญชาติดัตช์แล้ว เงื่อนไขของการเสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติคือ สมัครใจขอใช้สัญชาติอื่น แน่นอนค่ะ อันนี้ไม่มีใครบังคับ ถ้าไม่อยากถือสัญชาติดัตช์แล้ว และอยากถือสัญชาติอื่นแทน ก็ถือว่าสละสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติค่ะ … แต่…มันมีข้อยกเว้นนะคะ แค่เข้าเงื่อนไขเพียง 1 ใน 3 ข้อยกเว้นต่อไปนี้ ก็สามารถถือสองสัญชาติ คือสัญชาติดัตช์เดิมของตน และอีกสัญชาติใหม่ได้แล้วค่ะ ข้อยกเว้น 1. — เกิดในประเทศที่ขอสัญชาติใหม่ และตั้งใจจะอาศัยอยู่ในประเทศนั้นเป็นหลัก (คือย้ายออกจะเนเธอร์แลนด์ มาอยู่ประเทศที่ขอสัญชาติ และเป็นประเทศเกิดด้วยค่ะ) ข้อยกเว้น 2. — สมัยเด็กๆ ก่อนที่จะอายุถึง 18 ปี เคยอาศัยอยู่ในประเทศที่ขอสัญชาติใหม่อย่างต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5…
"การเสียสัญชาติดัตช์"ในปีหน้า วันที่ 1 กรกฎาคม 2020 กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะของเนเธอร์แลนด์ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ค่ะ เลยอยากเขียนเล่า และอยากเชิญชวนพี่น้องชาวไทยในเนเธอร์แลนด์มาลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะกันค่ะ — คือจะลงทะเบียนยินยอมบริจาคอวัยวะในกรณีเสียชีวิต หรือจะลงทะเบียน “ไม่” บริจาคอวัยวะ ก็ได้นะคะ แล้วแต่เลย แต่อยากให้ลงทะเบียน เพราะเป็นการตัดสินใจกับร่างกายของเราเอง ไม่ต้องผลักเป็นภาระของคนข้างหลังให้ลำบากใจค่ะ ความแตกต่างสำคัญของกฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่นี้คือ ให้นับว่าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ นับเป็นผู้บริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติ (คือตรงกันข้ามจากเดิม ที่ทุกคนไม่ใช่ผู้บริจาคอวัยวะ ถ้าอยากบริจาคก็ต้องทำเรื่องบริจาค) เหตุผลที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า จำนวนผู้ป่วยที่รอการบริจาคอวัยวะมีเป็นจำนวนมากค่ะ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตไป 130 – 150 คน เพราะว่ารออวัยวะจากผู้บริจาคไม่ไหว ใครมีสิทธิลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะ คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์มามากกว่า 3 ปี และอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติดัตช์ค่ะ) ลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้อย่างไร มีอยู่ 3 ทางเลือกค่ะคือ 1. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.donorregister.nl การลงทะเบียนวิธีนี้ ผู้ลงทะเบียนต้องมี DigiD ค่ะ เพื่อล็อกอินในเว็บไซต์ (DigiD นี่เปรียบเสมือนบัตรประชาชนทางอิเลกทรอนิกส์ที่ประชาชนใช้ในการติดต่อกับทางราชการดัตช์ค่ะ) 2. ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ สำหรับคนที่ไม่มี DigiD ก็สามารถลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้ค่ะ โดยไปตัดสินใจเลือกที่จะบริจาคอวัยวะหรือไม่ และกรอกแบบฟอร์ม ใส่รายละเอียดส่วนตัวได้ที่ https://mijn.donorregister.nl/#!/formulier/keuze ค่ะ (คือถ้ามี DigiD ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว เพราะรัฐรู้อยู่แล้วว่าเราเป็นใครน่ะค่ะ) 3. ลงทะเบียนทางไปรษณีย์ วิธีไม่ค่อยสะดวกค่ะ เราสามารถไปขอแบบฟอร์มผู้บริจาคอวัยวะได้ที่ gemeente…
"กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่ Donorwet"