สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย…ออยมัวยุ่งกับการสอบอยู่ค่ะ เดี๋ยวจะมาเขียนเล่าให้ฟังว่า สอบอะไร สอบยังไง แต่บทความวันนี้ขอเขียนเรื่องการขอวีซ่าระยะยาวมาอยู่เนเธอร์แลนด์ก่อนนะคะ ระยะยาวในที่นี้ หมายถึงมาอยู่เกิน 3 เดือนค่ะ สำหรับสาวๆ เมื่อตัดสินใจแล้วว่า จะย้ายมาอยู่กับคนรักที่เนเธอร์แลนด์ ก็เริ่มต้องหาข้อมูลกันแล้วล่ะค่ะว่า ต้องทำอย่างไร ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ รัฐบาลดัตช์นี่เคี่ยวที่สุดในยุโรปเลยค่ะ ในการให้วีซ่าระยะยาวมาอยู่กับคนรัก เพราะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญ 2 เงื่อนไข คือ ฝ่ายต่างชาติต้องสอบภาษาและวัฒนธรรมดัตช์เบื้องต้นให้ผ่าน ส่วนฝ่ายดัตช์ก็ต้องมีเงิน งานประจำ มีรายได้ไม่น้อยกว่ารายได้ขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด..ออยขอรวบรวมเป็นขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าง่ายๆ ดังนี้ค่ะ 1. สอบ MVV สำหรับประเทศนี้ หากอยากย้ายมาอยู่ระยะยาว ด้วยเหตุผลของการมาอยู่กับคนรัก จะต้องเริ่มด้วยการสอบภาษาดัตช์ให้ผ่านขั้นต่ำระดับ A1 ก่อนค่ะ (คนที่มาด้วยเหตุผลการศึกษาต่อ หรือมาทำงาน ข้ามข้อนี้ไปได้เลยค่ะ ไม่ต้องสอบ) การสอบนี้เรียกทางการว่า basisexamen inburgering buitenland ข้อสอบปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์แล้ว และเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในการสอบจากเดิมคือ กระทรวงการต่างประเทศ (IND) มาเป็น กระทรวงศึกษาธิการ (DUO) ข้อสอบเเบ่งออกเป็น 3 ทักษะค่ะ คือ 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ค่าสอบ 100 ยูโร 2) ทักษะการอ่าน ค่าสอบ 100 ยูโร และ 3) ทักษะการพูด ค่าสอบ 150 ยูโร…สอบไม่ผ่านในส่วนไหน สอบซ่อม จ่ายค่าสอบเเค่เฉพาะส่วนนั้นที่ไม่ผ่านเท่านั้นค่ะ…เท่าที่ได้ยินมา คนไทยมักจะสอบตกในส่วนทักษะการพูดค่ะ ดังนั้นต้องฝึกเยอะๆ ค่ะ ฝึกทำข้อสอบ เตรียมตัวสอบ…
"ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์…ขอวีซ่าระยะยาว MVV"Category: บทความ
เรื่องเกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์โดยทั่วไป ให้ความรู้แง่กฎหมายต่างๆ เล่าประสบการณ์ รวมถึงบทวิจารณ์ หรือความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศเนเธอร์แลนด์
สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย เเหะ แหะ มาค่ะ มาวันนี้จะเล่าขั้นตอนเอกสารต่างๆ ในการขอวีซ่าคู่สมรส เพื่อให้สามีชาวต่างชาติของเรา สามารถอยู่เมืองไทยได้นานๆ วีซ่าคู่สมรส สำหรับสาวไทยที่มีคู่สมรสต่างชาติ เรียกว่า วีซ่า non-immigrate O (อุปการะภรรยาไทย) ค่ะ เมื่อขอเเล้วจะได้มามีอายุ 1 ปี แต่สามารถต่ออายุได้เรื่อยๆ ตลอดไป ตราบใดที่ยังแต่งงานกับสาวไทยอยู่ ขอเล่าเฉพาะในส่วนที่รู้ จากประสบการณ์ตรงนะคะ อย่างเเรกที่ต้องทำคือ ให้คุณสามีขอวีซ่าคู่สมรสมาจากฮอลแลนด์เลย ซึ่งจะได้วีซ่ามา 90 วัน จากนั้นมาต่อวีซ่าเป็น 1 ปีที่เมืองไทย วิธีนี้จะง่ายกว่าค่ะ ง่ายกว่าไปเปลี่ยนวีซ่าจากท่องเที่ยวเป็น non-O (ตอนนี้ออยไม่แน่ใจว่าเขายังมีการให้เปลี่ยนวีซ่าภายในประเทศอยู่หรือเปล่านะคะ) กรณีแต่งงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ 1. อย่างแรกเลยคือขอใบทะเบียนสมรส และใบสูติบัตรของสามี มาจาก town hall ค่ะ ขอเขามาเป็นภาษาอังกฤษเลยนะคะ ค่าแปลจะได้ถูก และหาคนแปลง่ายหน่อย 2. เอาใบทะเบียนสมรสนี้ไปรับรองเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ก่อนค่ะ สถานที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟกรุงเฮกเลยค่ะ ลงจากรถไฟแล้วเดินอีกนิดก็ถึงแล้วค่ะ แนะนำให้ไปก่อน 11.30 น. เพราะเราจะได้รับเอกสารกลับมาภายในวันเดียวกันเลยค่ะ ถ้ามาสายกว่านั้น ต้องมาเอาเอกสารคืนวันถัดมาค่ะ รายละเอียดดูตาม link นี้ได้เลยค่ะ http://www.government.nl/issues/legalising-documents/legalising-dutch-documents/legalisation-by-the-consular-service-centre 3. นำทะเบียนสมรส และสูติบัตร ที่ได้รับการรับรองนี้ ไปสถานทูตไทยที่กรุงเฮกค่ะ นั่งรถแทรมสาย 9 ไป เอาทะเบียนสมรสนี้ไปขอรับรองเอกสารที่สถานทูตไทยอีกทีค่ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนัดวันมารับเอกสารในอีกประมาณ 2 วันทำการ ในวันนั้น…
"สามีดัตช์อยากมาอยู่ไทย – ขอวีซ่า non-O (Thai wife)"อย่างที่เคยเกริ่นไว้ในตอนที่ 1 นะคะ ว่าการแต่งงานจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายที่ฮอลแลนด์นั้นมีหลายแบบ มีทั้งหมด 3 แบบค่ะ คือ 1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) 2. จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) 3. จดทะเบียนแบบใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน (Samenwonen) ทั้งสามแบบนี้ สามารถจดได้ทั้งคู่ชาย-หญิง หรือคู่เพศเดียวกันก็ได้ค่ะ ต่อไปขออธิบายข้อดี ข้อเสีย ข้อแตกต่างกันของการแต่งงานแต่ละประเภทนะคะ 1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) เทียบเท่ากับการจดทะเบียนสมรสในเมืองไทยค่ะ ขั้นตอนก็เหมือนที่ออยเล่าไปแล้วใน ตอนที่ 1 (ถ้ายังไม่อ่าน คลิกอ่านได้เลยค่ะ http://dutchthingy.wordpress.com/2014/05/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1-2/) การแต่งงานนี้ ถ้ามีคู่สมรสต่อมามีลูกกัน ลูกนั้นถือว่าเป็นลูกของฝ่ายชายโดยอัตโนมัติเลยค่ะ (คือลูกเป็นของผู้หญิง แน่นอนอยู่แล้ว เพราะคลอดออกมาเอง แต่คนเป็นพ่อ บางครั้งไม่ชัดเจนค่ะ) ถึงแม้ว่า เด็กที่เกิดมานั้น อาจจะไม่ได้เป็นลูกโดยทางชีวภาพ แบบ DNA ไม่ตรงกันอะไรทำนองนี้ ถ้าจดทะเบียนสมรสกันแบบนี้ หากถึงคราวต้องเลิกกัน การหย่าร้าง ต้องขอคำสั่งจากศาลเท่านั้นค่ะ คือต้องให้ศาลเป็นคนอนุมัติ จึงจะหย่าร้างกันโดยสมบูรณ์ *** นอกเรื่องนิดค่ะ อยากเตือนสาวๆ ที่คิดจะรักหนุ่มฝรั่ง แล้วฝ่ายชายบอกว่า เขาเลิกกับภรรยาแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนหย่าร้าง คือถ้าผู้ชายยังหย่าไม่เสร็จ อยากให้สาวๆ ดูใจเขาต่ออีกนิดค่ะ อย่าเพิ่งไปตกลงใจ ตัดสินใจไปมีความสัมพันธ์กับเขา เพราะถ้าหวังว่าเขาจะหย่าเสร็จ แล้วจะมาแต่งกับเราต่อ มันอาจจะไม่ไวขนาดนั้น ขั้นตอนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และเจ็บปวดใจมากเลยทีเดียว คือในเมืองนอก การหย่ามันไม่ได้ง่ายเหมือนเมืองไทย…
"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 2"คู่ของออยแต่งงาน จดทะเบียนสมรสกันที่ฮอลแลนด์ค่ะ เหตุผลคือเรื่องของครอบครัวล้วนๆ เลยค่ะ คือครอบครัวทางฝ่ายสามีของออยจะสนิทกันมากกว่าครอบครัวของออย และพ่อของสามีก็เพิ่งเสียไปด้วย การจัดงานแต่งงานครั้งนี้ จึงถือเป็นการรวมญาติไปในตัว หลังจากครั้งสุดท้ายที่เจอกันที่งานศพพ่อสามี ซึ่งมีแต่ความโศกเคร้า ครั้งนี้ก็จะได้รวมกัน แบบมีความสุขกันบ้าง แต่งงานที่ฮอลแลนด์ ยุ่งยาก และใช้เวลานานมากกว่าที่เมืองไทยค่ะ ค่าใช้จ่ายก็มากกว่าด้วย การแต่งงานในความหมายในบทความนี้ คือการจดทะเบียนสมรส นะคะ เพราะมีคนไทยหลายคู่ที่จัดพิธีแต่งงานอย่างยิ่งใหญ่ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีความผูกพันกันทางกฏหมาย แต่สำหรับคนดัตท์แล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้นค่ะ แต่จะมีงานเลี้ยงหรือไม่นั่น ก็แล้วแต่แต่ละคู่รักจะตัดสินใจ เริ่มต้นเมื่อตัดสินใจที่จะแต่งงานกันที่ฮอลแลนด์ เอกสารที่เราจะต้องเตรียมมาจากเมืองไทย มีดังนี้ 1. ใบรับรองโสด – แปลและรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยค่ะ ใบรับรองโสด สามารถขอได้จากที่ว่าการอำเภอที่เรามีภูมิลำเนาอยู่ค่ะ ต้องขอด้วยตัวเองนะคะ *** ถ้ายังไม่เคยแต่งงานมาก่อน ในใบรับรองโสดต้องระบุข้อความประมาณนี้ด้วยนะคะว่า “จากข้อมูลในทะเบียนราษฏร์ ไม่พบว่าบุคคลนี้ มีการจดทะเบียนสมรสมาก่อน” ไม่งั้นทางอำเภอที่ฮอลแลนด์ จะไม่ยอมค่ะ จะทำให้เราต้องเสียเวลาไปทำเรื่องมอบอำนาจที่สถานทูตไทยในกรุงเฮก เพื่อให้คนที่บ้านเราไปเอามาให้อีกรอบ และต้องเอาไปแปล รับรองเอกสารอีกครั้ง เสียเวลามากเลยค่ะ 2. สูติบัตร – แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยเช่นกันค่ะ ขอแนะนำว่า ขั้นตอนการแปล และรับรองเอกสารที่สถานกงสุล เผื่อเวลาไว้สักหนึ่งอาทิตย์ แล้วจ้างเขาทำเถอะค่ะ ถ้าเราทำเอง จะเสียเวลากับการรอนานมาก รอทั้งวัน ไม่ได้ทำอะไรเลย เราทำแค่ขั้นตอนสุดท้าย คือนำเอกสารไปประทับตราที่สถานทูตก็พอค่ะ 3. แนะนำว่า เตรียมชุดเจ้าสาว ชุดเจ้าบ่าว แหวน รองเท้า…
"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 1"