ติวหนังสือสอบ KNM(4) – ที่อยู่อาศัย

ต่อค่ะ มาติวกันต่อ ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ออยจดและแปลมาไม่ได้เเบ่งเป็นบทๆ อย่างในหนังสือ แต่เรียงลำดับตามหน้าที่อ่านแน่นอนค่ะ ทำให้ออยต้องตั้งหัวข้อขึ้นมาเอง

เช่นเคยค่ะ ออยจดและแปลมาจากหนังสือ Welkom in Nederland ของสำนักพิมพ์ Uitgeverij Coutinho ตามรูปนะคะ เล่มที่ออยอ่านเป็นการพิมพ์ครั้งก่อน ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2015 หน้าปกจะเหมือนกันค่ะ เพียงแต่เป็นสีฟ้าแทน สั่งซื้อหนังสือมาอ่านได้ที่ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ค่ะ ในนั้นจะมี code ให้เรา log in ในเวปไซค์ของสำนักพิมพ์ และทำข้อสอบเพิ่มเติมด้วยนะคะ

IMG_1270

  • เด็กเป็นสมาชิกห้องสมุดฟรี
  • pretpark =  สวนสนุก เช่น สวนสนุก Efteling
  • flat กับอพาร์ทเมนต์ (appartement) ความหมายเดียวกัน
  • นักศึกษาเช่าห้องอยู่ใน etage (ชั้นในอาคารหรือบ้าน)
  • คนแก่อยู่ใน verzorgingshuis (บ้านพักคนชรา)
  • เวลาจะซื้อบ้าน ต้องขอเงินกู้กับ hypotheek (ยกเว้นว่าจะซื้อเงินสด) ซึ่งจะได้เงินกู้ซื้อบ้านก็ต่อเมื่อมีงานประจำเท่านั้น
  • ซื้อบ้าน หรือจ่ายค่าบ้าน จะได้เงินภาษีคืนด้วย
  • makelaar = นายหน้าค้าบ้าน
  • วิธีซื้อบ้าน   พบ hypotheek ประเมินว่าสามารถกู้เงินซื้อบ้านได้เท่าไร –> เลือกบ้านในอินเตอร์เน็ต –> ติดต่อ makelaar ขอดูบ้าน –> พบเจ้าของบ้าน verkoper –> ตกลงราคา –> ทำสัญญา notaris
  • ค่าซ่อม ค่าบำรุงรักษาบ้าน เจ้าของบ้านต้องจ่ายเอง
  • บ้านเช่า ต้องไปหาเช่ากับ socialehuurwoning เช่น woningcorparatie, woningstichting, woningbouwvereniging จ
  • หรือลงทะเบียนกับ woningzoekende แต่อาจต้องรอนานมาก (บางที่เป็นปี) แต่จะได้ค่าเช่าถูก และหากเมื่อถึงคิว แล้วไม่ต้องการบ้านหลังนั้น ก็ต้องกลับไปเข้าคิวนานๆ ใหม่
  • แต่ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หย่าและมีลูกติด สามารถทำเรื่องขอลัดคิวได้ เรียกว่า urgentieverklaring aanvragen โดย gameente เป็นคนทำเรื่องให้ กรณีนี้ต้องได้รับการอนุมัติจาก gemeente
  • woningbouwvereniging มีบ้านเช่าดีและราคาถูก
  • ในบางพื้นที่ คนที่จะเช่าอยู่ต้องมี huisvestingsverguning จึงจะสามารถขอเช่าบ้านราคาถูกได้
  • แต่ถ้ารอไม่ไหว (หรือระหว่างรอ) สามารถเช่า etage (ชั้นว่างในบ้าน) หรือห้องว่างจากเอกชน (particuliere verhuurders) ไปพลางๆก่อนได้
  • de wederopbouw = reconstructie
  • kadaster = สำนักงานที่ดิน
  • huurcontract (สัญญาเช่า) จะประกอบด้วย
    • ค่าเช่าที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน
    • servicekosten
    • ข้อตกลงว่าใครจะซ่อม หรือบำรุงรักษาบ้าน
    • ระยะเวลาในการเช่า ต้องบอกล่วงหน้า 2 เดือน ก่อนย้ายออก
  • Huurtoeslag = สำหรับผู้มีรายได้น้อย ถ้าต้องเช่าบ้านค่าเช่าเเพงอยู่ สามารถขอเงินช่วยจาก Belasting ได้ เรียกว่า huurtoeslag
  • หากมีปัญหากับผู้ให้เช่า หรือ woningcoparatie สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจาก huurcommissie
  • ถ้าอาศัยอยู่บ้านจะต้องจ่ายภาษีให้แก่ gemeente อันประกอบด้วย
    • afvalstoffenheffing (ค่าเก็บขยะ)
    • rioolrecht (ค่าบำบัดน้ำเสีย)
  • และถ้าซื้อบ้านก็ต้องจ่ายภาษีบ้านด้วย เรียกว่า de OZB (de onroerendezaakbelasting) แต่ถ้ามีรายได้น้อย สามารถทำเรื่องขอไม่จ่ายภาษีตัวนี้ได้ เรียกว่า ขอ kwijtschelding
  • ถังขยะตามบ้านมี 2 ใบ
    • สีเขียว –>  ขยะเศษอาหาร ขยะจากสวน
    • สีเทา –> ขยะทั่วไป
  • ส่วน กระดาษ พลาสติก แก้ว ขยะเคมี เเบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ให้แยกทิ้งต่างหาก
  • gemeente จะนัดวันทิ้งขยะ ให้เอาถังขยะไปวางไว้ตรงทางเท้า การวางถังขยะผิดวันหรือวางทิ้งไว้นานๆ อาจโดนปรับได้
  • rest afval = ขยะทั่วไป
  • ขยะชิ้นใหญ่ Grofvuil และขยะสารเคมี ต้องนำไปทิ้งที่ afvaldepot
  • gft = groente, -fruit, en tuinafval ขยะเขียว เช่น ผัก ผลไม้ พืชต้นไม้ในสวน
  • kca = klein chemisch afval ขยะสารเคมี(เล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน) เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างเล็บ ฯลฯ
  • เราสามารถเลือกใช้ผู้ให้บริการพลังงาน ไฟฟ้า หรือแก๊ส ได้
  • 1 ครั้ง/ปี ต้องทำ meterstand คืออ่านมิเตอร์ไฟฟ้า และแก๊ส แล้วแจ้งยอดค่าใช้จริงให้บริษัทพลังงาน
  • แต่ละเดือนต้องจ่ายค่าไฟฟ้า และแก๊ส แต่เป็นการจ่ายแบบประมาณ เรียกว่า termijnbedrag โดยสิ้นปีจะได้ jaarrekening และเมื่อเราบอกเลขมิเตอร์จริง (meterstand doorgeven) ไป เราจะได้เงินคืน หรือต้องจ่ายเพิ่ม ให้ถูกต้องตามจริง
  • หากไม่จ่ายค่าไฟฟ้า หรือค่าแก๊ส –> ได้รับจดหมายทวง 2-3 ครั้ง –> ปิดไม่ให้ใช้ ตัดไฟ ตัดแก๊ส
  • สำหรับบ้านหรือห้องเช่า ค่าเช่าบางสัญญาก็รวมค่าแก๊ส ค่าไฟฟ้า ไปแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตกลงกัน
  • ค่าน้ำ หากอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จะใช้บริษัทน้ำเดียวกัน วิธีการจ่ายค่าน้ำ ก็แบบเดียวกับการจ่ายค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส
  • storingen = บางอย่างไม่ทำงานตามปกติ เช่น ไฟฟ้าดับ แก๊สเปิดไม่ติด น้ำไม่ไหล เป็นต้น –> ถ้าเป็นเฉพาะบ้านเราบ้านเดียว ให้หาสาเหตุและแก้ปัญหา –> แต่ถ้าเป็นหมดทั้งละเเวกนั้น ให้อยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็กลับมาเป็นปกติ
  • loodgieter = ช่างประปา
  • zuinig met energie & water = ภาษีสำหรับค่าพลังงาน และน้ำ
  • ประกันภัยบ้าน
    • AVP, de aansprakelijkheidsverzekering voor particulieren หรือ WA-verzekering คุ้มครองเมื่อ ถ้าไปทำของๆ บ้านคนอื่นแตกเสียหาย (แต่ถ้าทำของบ้านตัวเองแตก กรรมธรรม์นี้ไม่คุ้มครอง)
    • inboedelverzekering เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ในบ้าน น้ำท่วมบ้าน ประกันจะจ่าย
    • woonhuisverzekering หรือ opstalverzekering เป็นประกันสำหรับคนที่ซื้อบ้านเท่านั้น คุ้มครองสำหรับกรณีเช่น หากบ้านพัง ไฟไหม้บ้าน(ทั้งหลัง) พายุพัดต้นไม้ล้มทับบ้าน
  • ถ้าอยากรู้ว่าจะมีการก่อสร้างอาคารใดๆ (ที่ต้องขออนุญาติ bouwvergunning) แถวใกล้บ้านเราหรือไม่ สามารถติดตามข่าวสารได้ที่บอร์ดที่ทำการ gemeente เรียกว่า openbare bekendmakingen หรืออ่านจากหนังสือพิมพ์ huis-aan-huisblad (รับฟรี)
  • aangifte doen bij de politie = แจ้งความกับตำรวจ
  • หากพบว่า ขโมยขึ้นบ้าน หรือมีปัญหาเพื่อนบ้านทำเสียงดังรบกวน โทรแจ้งตำรวจที่ 0900-8844 ตำรวจจะมา (แต่ไม่มาทันที)
  • ทุกคนจะต้องลงทะเบียนกับ gemeente ในท้องที่ที่เราอาศัยอยู่
  • aangifte (แจ้ง) กับ gemeente เมื่อ
    • มีเด็กเกิด (แจ้งภายใน 3 วัน)
    • แต่งงาน หรือ officieel samen wonen
    • หย่า
    • มีคนมาอาศัยอยู่ในบ้านด้วย
    • ย้ายบ้าน
    • คนต่างชาติมาอยู่ด้วย
  • uittreksel uit de gemeentelijke basisadministratie (GBA) = กระดาษที่มีรายละเอียด ชื่อของเรา ที่อยู่ ฯลฯ –> ใช้เป็นเอกสารในการขอแต่งงาน เป็นต้น (ดัตช์ไม่ได้มีทะเบียนบ้านเป็นเล่มติดบ้านเหมือนคนไทยค่ะ ใบนี้คล้ายๆ ทะเบียนบ้านของไทยนั่นเอง)
  • ทำบัตรประชาชนดัตช์ passport และใบขับขี่ ที่ gemeente