สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย อยู่ในช่วงกำลังเตรียมสอบ Staatsexamen I อยู่ค่ะ ถ้าสอบผ่านยังไงแล้ว จะมีรีวิวเล่าประสบการณ์ให้ฟังกันนะคะ แต่ตอนนี้ยังสอบไม่ผ่าน ขอเงียบๆ เจียมตัวไว้ก่อน อิ อิ
ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของการติวหนังสือ Welkom in Nederland แล้วนะคะ หนังสือสั่งซื้อได้ที่นี่ค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องการเมืองการปกครองค่ะ แต่ในข้อสอบไม่ได้ออกละเอียดขนาดว่า พรรคอะไรชื่อเต็มว่ายังไงนะคะ แทบไม่มีเรื่องของนโยบายพวกพรรคการเมืองด้วยซ้ำ เพียงแต่คิดว่าเราควรรู้ไว้ค่ะ เพราะเวลาดูข่าว อ่านข่าว ข่าวการเมืองมักจะเป็นข่าวยอดนิยม ถ้าเรามีความรู้พื้นฐาน เราจะอ่านข่าวได้เข้าใจขึ้นค่ะ
- ทุก 4 ปี จะมีการเลือกตั้ง Provinciale Staten
- ผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า Commissaris van de koning
- gemeenteraad คือ คณะทำงานใน gemeente จะมาจากการเลือกตั้ง ทุกๆ 4 ปี หัวหน้าของ gemeenteraad เรียกว่า burgemeester (ได้มาจากการแต่งตั้ง)
- ในเมืองใหญ่ๆ จะมีกลุ่มคณะกรรมการเพิ่มขึ้นมา เรียกว่า deelgemeenten คนที่ทำงานในคณะกรรมการนั้นเรียกว่า deelgemeenteraad
- เนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกใน EU ดังนั้นทุกๆ 5 ปี จะมีการเลือกตั้ง Europees Parlement เพื่อมาเป็นตัวแทนประชุมร่วมกัน ทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง
- verkiezing = การเลือกตั้ง
พรรคการเมือง
(ดูตามในหนังสือจะดีกว่านะคะ แหะ แหะ อายลายมือตัวเอง)
- พรรค VVD = Volkspartij voor Vrijheid en Democratie สนับสนุนเสรีภาพ สนับสนุนให้การให้ uitkering ต้องยากๆ เพื่อให้ทุกคนต้องทำงาน ไม่ชอบต่างชาติที่มาอยู่ในฮอลแลนด์ (liberale)
- พรรค PvdA = Partij van de Arbeid ต้องการให้ช่องว่างระหว่างคนรวย – คนจน ลดลง คนรวยต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้น การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ (sociaaldemocratische)
- พรรค SP = Socialistisch Partij เป็นพรรครัฐสวัสดิการ (socialistische) มีแนวคิดว่า รัฐบาลควรดูแลคนจนและคนป่วย คนรวยต้องจ่ายภาษีเยอะๆ มีแนวคิดไม่ต้องการร่วมมือกับ EU มากนัก ต้องการลดความสัมพันธ์
- พรรค PVV = Partij voor de Vrijheid ต้องการให้มีต่างชาติเข้ามาอยู่ในฮอลแลนด์น้อยลง ออกกฏเพิ่มสำหรับต่างชาติในประเทศ โดยเฉพาะชาติที่มาจากประเทศมุสลิม ต้องการลดความร่วมมือกับ EU
- พรรค CDA = Christendemocratisch Appel ต้องการให้มีการปกครองยึดหลักตามคัมภีร์ไบเบิล แต่ให้เสรีภาพมากกว่า เห็นว่าสถาบันครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ
- พรรค D66 = Democraten 1966 เห็นว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนควรมีสิทธิเลือก burgemeester และการศึกษาสำคัญที่สุด
- พรรค GroenLinks ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม คนรวยควรจ่ายภาษีมากขึ้น ทุกคนควรมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
- พรรค Christen Unie (CU) ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง รัฐต้องดูเเลคนจน ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและครอบครัว
- พรรค SGP = Staatkundig Gereformeerde Partij เป็นพรรคที่เป็นคริสเตียนอย่างเข้มข้น เห็นว่าควรใช้คัมภีร์ไบเบิลในการดำเนินชีวิต พรรคนี้เพิ่งยอมรับให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมือง
- Partij voor de Dieren เป็นพรรคการเมืองที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์
- พรรค SoPlus ให้ความสำคัญกับคนแก่ ต้องดูแลผู้สูงอายุ
- พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย (Linkse) จะมีความคิดว่า คนรวยควรจ่ายภาษีมากกว่าคนจน รัฐบาลควรดูแลคนจน เงิน uitkeringen ควรให้มากพอแก่การดำรงชีวิต
- พรรคการเมืองฝ่ายขวา (Rechtse) จะมีความคิดว่า ทุกคนควรจะรับผิดชอบตัวเอง
การเลือกตั้ง
- ระดับ gemeente – ทุก 4 ปี คนดัตช์และคนในสหภาพยุโรปที่อายุมากกว่า 18 ปี หรือคนต่างชาติ (ที่ไม่ใช่ชาติสมาชิก EU) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เลือกตั้งนั้นมามากกว่า 5 ปี เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- ระดับ provincie – เลือกตั้งทุก 4 ปี คนดัตช์ที่อายุมากกว่า 18 ปี มีสิทธิเลือกตั้ง
- ระดับประเทศ – เลือก Tweede kamer ทุก 4 ปี คนดัตช์ที่อายุมากกว่า 18 ปี มีสิทธิเลือกตั้ง
- ระดับ Europa – เลือกตั้งทุก 5 ปี คนที่มีสัญชาติในสมาชิก EU และอายุมากกว่า 18 ปี มีสิทธิเลือกตั้ง
(* หลายคนสงสัยว่า มี Tweede kamer แล้วมี eerste kamer ไหม คำตอบคือ มีค่ะ Tweede kamer คงเปรียบได้กับ ส.ส. บ้านเรา คือมาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีหน้าที่ออกกฏหมาย แต่ eerste kamer มาจากการเลือกของ Proviciale Staten ค่ะ คนที่นั่งใน eerste kamer จะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมาย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ Tweede kamer ในการออกกฏหมายต่างๆ)
- referendum = การลงประชามติ ซึ่งจะมีข้อให้เลือกแค่ 2 ข้อ คือ ja กับ nee
- partijen reclame = พรรคการเมืองหาเสียง
- lijsttrekker = หัวหน้าพรรค
- ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะได้รับการ์ดส่งถึงบ้าน ในวันเลือกตั้ง ก็นำการ์ดใบนี้ และบัตรประจำตัวประชาชน ไปเลือกตั้ง เรียกว่า stembiljet คนดัตช์ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง Tweede kamer 70-80%
- Tweede kamer มี 150 ที่นั่ง
- meerderheid = เสียงข้างมาก
- regeerakkoord = นโยบายการทำงานของรัฐบาลในระยะเวลา 4 ปีที่ดำรงตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญ (Grondwet) มีทั้งหมดเกือบ 150 artikelen (ข้อ) ข้อที่สำคัญๆ ได้แก่
- artikel 1 : ไม่ยอมรับ discriminatie, ชายและหญิงเท่าเทียมกัน ทุกศาสนาเท่าเทียมกัน เพศทางเลือกก็เท่าเทียมกัน
- artikel 6 : เสรีภาพในการนับถือศาสนา (Vrijheid van godsdienst)
- aritkel 7 : เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Vrijheid van meningsuitingX
- artikel 23 : เสรีภาพในการศึกษา (Vrijheid van onderwijs)
ในเนเธอร์แลนด์ กฏหมาย (Wet) มีความสำคัญกว่า ศาสนา
ศาสนาและการเมือง แยกออกจากกันเด็ดขาด
อำนาจ (machten) ทางการเมืองของประเทศเนเธอร์แลนด์ แยกออกเป็น 3 อำนาจ คือ
- regering รัฐบาล
- parlement รัฐสภา
- rechters ตุลาการ
การประท้วง
- Handtekeningen ophalen – การยื่นรายชื่อคัดค้าน
- Een demostratie houden – การประท้วง แบบชูป้ายประท้วง ไม่เห็นด้วย
- Staking houden – การสไตร์ นัดหยุดงาน