ทุกวันอังคารสัปดาห์ที่สามของเดือนกันยายน จะเป็นวัน Prinsjesdag ค่ะ — เป็นวันแถลงนโยบายและงบประมาณประจำปีของรัฐบาล หลังจากที่เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Mark Rutte มายาวนานนับสิบปี ปีนี้เป็นปีแรกที่งบประมาณประจำปีนำโดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่ Dick Schoof รัฐบาลใหม่ได้ประกาศตั้งแต่ตอนก่อตั้งแล้วว่า จะมีมาตรการควบคุมผู้ลี้ภัยและการอพยพที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมา และจะอยู่ข้างเกษตรกรมากกว่าสิ่งแวดล้อมค่ะ จะผ่อนคลายความเข้มเรื่องการปล่อยออกไซต์ของไนโตรเจนที่ยุโรปบังคับ และเนเธอร์แลนด์เคยทะเยอทะยานที่จะทำให้ได้ดีกว่าที่ยุโรปต้องการในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรฟาร์มโคนม ฟาร์มปศุสัตว์บางรายอาจถึงต้องปิดกิจการ — แต่รัฐบาลใหม่จะไม่ทะเยอทะยานเช่นนั้น แต่จะเน้นเรื่องความมั่นคงทางอาหารมากกว่า แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ งบประมาณมีจำกัดค่ะ จึงไม่สามารถอุดหนุนทุกอย่างได้ ดังนั้นดูเหมือนนโยบายรัฐบาลใหม่นี้จะตัดงบด้านการศึกษา และการช่วยเหลือพัฒนาประเทศโลกที่สาม รวมถึงยังยืนยันที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดสินค้าทางด้านวัฒนธรรม หนังสือ และกีฬา ในปี 2026 ค่ะ เพราะรัฐต้องการรายได้เพิ่มในส่วนนี้ งบประมาณ รายได้-รายจ่ายของรัฐ ปีนี้รัฐตั้งงบประมาณแบบขาดดุลเล็กน้อยค่ะ อยู่ที่ 457 พันล้านยูโร จากในภาพเราจะเห็นว่าแหล่งรายได้ 3 อันดับแรกของรัฐมาจากภาษีรายได้ รองลงมาก็คือภาษีมูลค่าเพิ่ม (จากการจับจ่ายใช้สอยของเรานั่นเองค่ะ) อันดับที่สามของแหล่งรายได้ของรัฐ มาจากเบี้ยประกันสุขภาพค่ะ เราจ่ายให้บริษัทประกันสุขภาพทุกเดือน และบริษัทฯ จะนำส่งส่วนหนึ่งให้แก่รัฐ รายจ่ายของรัฐส่วนใหญ่ในปี 2025 คือรายจ่ายด้านประกันสังคม เช่น เงินสงเคราะห์ต่างๆ ค่ะ เงินบำนาญผู้สูงอายุ เงินสงเคราะห์บุตร ฯลฯ และรายจ่ายด้านสุขภาพสาธารณสุข รายจ่ายรองลงมาอันดับสามของรัฐคือ รายจ่ายให้กองทุนการปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลและจังหวัด รายจ่ายอันดับสี่ถัดมาคือ รายจ่ายให้แก่การศึกษา วัฒนธรรม และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ค่ะ ส่วนรายจ่ายด้านกลาโหมตามมาเป็นลำดับห้าค่ะ รายจ่ายของรัฐนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของรัฐบาลค่ะ ว่าเน้นความสำคัญต่อภาคส่วนใดเป็นพิเศษ นโยบายรัฐปี 2025 และผลกระทบ…
"นโยบายและงบประมาณประจำปี 2025 กับผลกระทบต่อเรา"