เตรียมสอบ inburgering examen – อะไรคือ inburgering examen

ก่อนเราขอวีซ่าระยะยาวเพื่อย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์กับคนรัก เราก็ต้องสอบภาษาดัตช์เบื้องต้นไปแล้วใช่ไหมคะ กว่าจะสอบผ่านก็หืดขึ้นคอกันไป แต่เมื่อได้ย้ายมาอยู่ประเทศนี้แล้ว วิบากกรรมของเราก็ยังไม่จบเพียงแค่นั้นค่ะ เรายังต้องสอบภาษาดัตช์ต่ออีก … เนื่องจากหลังจากเราเข้าประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยวีซ่าระยะยาว MVV แล้ว เราจะได้รับบัตรเเข็งๆ มาใบหนึ่งค่ะ ได้จาก IND บัตรนั้นชื่อ verblijfvergunning คล้ายๆ กับบัตรประชาชนคนต่างด้าว บัตรนี้มีอายุ บางคน 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี และเมื่อบัตรหมดอายุ เราก็ต้องไปต่ออายุบัตรกับ IND โดยเขามีเงื่อนไขในการต่ออายุบัตรใบนี้ค่ะ หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญคือ เราต้องสอบผ่านภาษาดัตช์อย่างน้อยระดับ A2 หรือสอบผ่าน inburgering examen นั่นเอง เรามีสองทางเลือกค่ะ คือ จะสอบ inburgering examen หรือจะสอบ NT2…แล้ว 2 แบบนี้มันต่างกันยังไง สรุปง่ายๆ ว่า inburgering examen ง่ายกว่าคะ เป็นการสอบภาษาดัตช์ในระดับ A2 (ระดับที่เราสอบผ่านมาจากเมืองไทย คือระดับ A1) แต่ข้อเสียคือ มันเอาไปทำอะไรไม่ได้ นอกจากใช้เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำในการที่ IND จะพิจารณาต่อ verblijfdocument ให้เราเท่านั้น ภาษาดัตช์ระดับ A2 คงคล้ายๆ กับเด็กประถมดัตช์ คือยังพูด ยังสื่อสารเรื่องยาวๆ ซับซ้อน ไม่ได้ ดังนั้นภาษาดัตช์ระดับนี้ จึงหางานดีๆ ที่ต้องใช้ทักษะการสื่อสารยากค่ะ…

"เตรียมสอบ inburgering examen – อะไรคือ inburgering examen"

การใช้ geen กับ niet

ทั้ง geen และ niet ต่างใช้ในประโยคปฏิเสธทั้งคู่ค่ะ มีหลักการว่า ประโยคไหนจะใช้ geen ประโยคไหนควรใช้ niet ดังนี้เลยค่ะ 1. Geen 1.1 ใช้แทนที่ article “een” ตอนเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น – ik heb een auto. – ik heb geen auto. – jij schrijft een brief. – jij schrijft geen brief. 1.2 ใช้นำหน้าคำนาม เพื่อเป็นประโยคปฏิเสธ กับคำนามที่นับไม่ได้ ซึ่งคำนามเหล่านี้ เป็นคำนามที่ไม่จำเป็นต้องมี article นำหน้า เช่น – ik drink koffie. – ik drink geen koffie. – ik heb kinderen. –  ik heb geen kinderen. * ให้สังเกตว่า “geen” จะวางไว้ข้างหน้าคำนามเสมอ   2. Niet “niet” จะใช้ในประโยคปฏิเสธที่เหลือทั้งหมด…

"การใช้ geen กับ niet"

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์

ภาษาดัตช์ก็เหมือนภาษาอังกฤษค่ะ มีการเปลี่ยนรูปคำนาม เมื่อทำให้เป็นพหูพจน์ บ่งบอกว่าของนั้นมีหลายชิ้นนะจ๊ะ ภาษาดัตช์มีหลักการเปลี่ยนคำนามจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์ ดังนี้ 1. เติม -en หลังคำนามเอกพจน์ het boek – de boeken de verdieping – de verdiepingen de vrouw – de vrouwen de maand – de maanden de fiets – de fietsen de trein – de treinen de dag – de dagen de land – de landen de deur – de deuren de plant – de planten de stoel – de stoelen de vensterbank – de vensterbanken de docent – de docenten…

"การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์"

การใช้คำนำหน้านาม de หรือ het

ภาษาดัตช์มี article หรือคำนำหน้านามเหมือนภาษาอังกฤษเลยค่ะ แต่ของภาษาอังกฤษคือ a, an ของภาษาดัตช์คือ de กับ het ค่ะ ส่วนจะใช้ de หรือจะใส่ het นำหน้าดีนั้น มีกฏอยู่ประมาณนี้ค่ะ การใช้ article “de” นำหน้านาม – คำนามที่ใช้เรียก ผลไม้ ต้นไม้ ดอกไม้ เช่น de apple, de varen, de eik เป็นต้น – คำนามที่ใช้เรียกตัวเลข หรือตัวอักษร เช่น de acht, de A เป็นต้น – คำนามที่ใช้เรียกชื่อภูเขา แม่น้ำ – คำนาม (ส่วนใหญ่) ที่เรียกชื่อสมาชิกในครอบครัว และตำแหน่งต่างๆ เช่น de boer, de moeder, de zus เป็นต้น แต่ยกเว้นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และแผนก – คำที่ลงท้ายด้วย -ing เช่น de versiering, de ING bank – คำนามที่เป็นพหูพจน์ จะใช้ article “de”…

"การใช้คำนำหน้านาม de หรือ het"